วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2553

Diy ตอน ทำกราวด์กันเถอะ




Diy ตอน ทำกราวด์กันเถอะ
ทำทำไม ทำแบบไหน ทำเพื่ออะไร ..โห้...ถามกันเป็นชุด เอาล่ะท่านใจเย็น ๆ ผมจะขอเกริ่นว่าด้วยเรื่องของกราวด์กันก่อนแล้วกัน ปกติแล้วโดยส่วนใหญ่ ฟืนไฟบ้านเราระบบเก่า ๆ ผมว่ามันไม่ได้มาตรฐานเอาเสียเลย ผมว่าเกินกว่าครึ่งไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ คอนโด หรือบ้านสร้างเอง อันนี้ส่วนมากหมู่บ้านตามชนบทหรือต่างจังหวัด ไฟไม่มีกราวด์ ใช่ครับ ไม่มีกราวด์จริง ๆ ทั้ง ๆ ที่ระบบไฟบ้านเรามีขนาดแรงดัน AC 220 V แต่ไม่มีกราวด์ แต่ดูของต่างประเทศบางประเทศเขาสิแค่ 110 V แต่มีกราวด์ และยิ่งเรา ๆ ท่าน ๆ โดยส่วนมากไม่ค่อยจะสนให้ความสำคัญกันสักเท่าไหร่ทำไมผมพูดอย่างนั้น ก็ลองสังเกตุรอบรอบ ตัวเราสิครับ เครื่องใช้ไฟฟ้า ตู้เย็น เครื่องซักผ้า กระทะไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ เครื่องเสียงโฮมเธียเตอร์ยี่ห้อดัง และอะไรต่อมิอะไรเยอะแยะดี ๆ หรู ๆ แต่ใช้ปลั๊กไฟพ่วงแบบ ถูก ๆ ยิ่งเป็นปลั๊กเสียบขากลมของ ทีวี เครื่องเสียงบางยี่ห้อ อย่าหวังว่าจะเสียบได้แน่นให้กระแสไฟไหลได้สะดวก เสียบไม่แน่นก็ยังอุตส่าห์พยายามสูงโยก ๆ เบี่ยง ๆ หาเหลี่ยมให้มันติด เอากะเขาสิ 55


ถ้าเป็นอย่างที่ว่ามาก็บอกได้เลยโดยไม่ต้องลังเลว่าอันตรายนะจ๊ะ ขอเตือนด้วยความห่วงใย ไหนจะโดนไฟดูดจากไฟไม่มีกราวด์ ไหนอาจเกิดการสปาร์ค จากปลั๊กไฟหลวมจนเกิดความร้อนถึงขั้นลุกไหม้หากว่าบ้านอันแสนรักของเราเหลือแต่เถ้าถ่าน ก็เป็นอันไม่คุ้มด้วยประการทั้งปวงกับปลั๊กไฟราคาถูก ๆ อย่ากระนั้นเลยวันนี้ผมจะได้แนะนำวิธีการทำกราวด์เอาไว้ใช้ในบ้านเราดีกว่า ท่านไหนที่บ้านระบบไฟมีกราวด์สมบูรณ์อยู่แล้วก็ไม่ต้องนะครับ เริ่มเตรียมอุปกรณ์กันเลย

สายไฟแบบเข็งขนาดไม่ต่ำกว่าเบอร์ 4 ความยาวก็แล้วแต่ตามเหมาะสม กะระยะจากเมนหลักจนถึงจุดที่จะตอกหลักกราวด์ หรืออย่างของผมตามรูปนี้ห้องเป็นคอนโดเก่าฉะนั้นอย่าไปหวังว่าจะมีกราวด์มาให้ ผมก็หาจุดที่จะทำอยู่ตั้งนานแสนนาน จนลองเปิดฝ้าในห้องน้ำเห็นเหล็กเส้นเสร็มแรงคอนกรีตโผล่ออกมา นั่นล่ะครับกราวด์ชั้นดีของผมเลย 55 ในกรณีที่ไม่สามารถเดินสายกราวด์เข้าเมนหลักได้ ก็ให้เดินเข้าปลั๊กที่เป็นจุดสำคัญที่สุดนะครับ อย่างเช่น ชุด คอมพิวเตอร์ หรือชุดเครื่องเสียง และสำคัญที่สุด เครื่องทำน้ำอุ่นครับ แล้วก็จัดแจงสายก็ใช้กิ๊บตอกสายโทรศัพท์เก็บสายให้เป็นระเบียบ จุดที่สำคัญเราสามมารถทำปลั๊ก 3 จุดมีกราวด์ก็จะดีมาก ๆ นะครับ

ตัวปลั๊กจะให้ดีกำหนดเฟสไว้ก็จะดีไม่น้อย โดยใช้ไขควงเช็คไฟจิ้มเลยครับ โดยเฟสที่มีกระแสไฟเดิน เราเรียกว่า L ไฟในไขควงจะสว่าง ส่วนรูที่เหลือจิ้มแล้วไขควงต้องไม่มีไฟสว่าง อันนั้นเรียกว่า N อีกจุดที่เหลือเป็น กราวด์ ตามรูปตัวอย่าง รูที่มีไฟสังเกตุดี ๆ จะเป็นรูเล็กแคบ ส่วนรูฝั่งตรงข้ามซึ่งเป็นนิวตรอนรูปลั๊กจะกว้างกว่า ส่วนกราวก็จะอยู่ตรงกลาง นั่นล่ะครับ ใส่ให้ถูกต้องด้วยนะครับ

หลังจากที่เราจัดแจงนั่งทำหลังขดหลังแข็ง โยกโน่นย้ายนี่ตอกกิ๊บจนเมื่อยขบเหงื่อท่วมตัว เข้าสายเสร็จแล้วก็รับรองได้ว่าผลที่ได้คุ้มแสนคุ้มแน่นอนครับ สบายใจหายห่วง มีลูกมีหลานก็เบาใจลงเยอะ เคสคอมพิวเตอร์ที่เมื่อก่อนเคยดูดบ่อย ๆ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆที่มีตัวถังเป็นโลหะ มันไม่ดูดเราอีกแล้วล่ะครับเวลาเราจับต้องตรง ๆ หรือโดยไม่ตั้งใจ ส่วนเครื่องเสียงของเราก็ได้ผลบุญกะเขาด้วยนะ เอ่อ.. จะจับ ๆ หมุ่น ๆ โวลุ่ม หรือ บิดซีเล็กเตอร์ ไม่ไม่ดูดเราอีกแล้ว และเสียงที่ได้มีความนิ่งสงัดมั่นคง กระชับ มั่นอกมั่นใจกับความปลอดภัยที่เราได้เห็น ๆ โดยไม่ต้องพึ่งกับมาตรฐานอันบิดเบี้ยวของระบบไฟบ้านเราสมัยก่อน เอาล่ะครับวันนี้ก็มีเพียงเท่านี้ล่ะครับสำหรับบทความดี ๆ ลาแค่นี้ก่อนครับ

วันเสาร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2553

diy speakers pvc vertion 2

Speaker DIY คิดว่ายังจำกันได้เป็นอย่างดีกับแนวเสียง ของลำโพง diy speakers pvc ใน เวอร์ชั่นที่แล้ว บ๊ะ...!..กรูจารู้กะเมิงเร๊อะไอ้คุณท่าน...!! ทำเองคนเดียว ฟังเองคนเดียว คิดเองพูดเอง เออเองคนเดียว ยังมีหน้ามาทึกทักตีซี้ถามผู้อ่านเอาดื้อ ๆ ซะงั้น..55...อ่ะ เอาเป็นว่าในเวอร์ชั่นที่แล้วมันก็มีดีเป็นที่ปลื้มปิติ ยินดีปรีดากันท่วนหน้ากับน้ำเสียงที่ได้ และ ราคาก็น่ายินดีเป็นยิ่งนัก นี่ยังไม่รวมคุณค่าทางใจอันประมาณค่ามิได้นะคร๊าบบบ...โฮ่ะ ๆ Photobucket



แต่ยังไงก็ดีมันก็ยังมีข้อจำกัดกับเสียงย่านความถี่ต่ำ ๆ ที่ยังรู้สึกว่าขาดแคลนไปบ้าง ด้วยว่าโครงสร้างกายภาพในตัวของมันไม่สามารถตอบสนองได้ถึงขนาดนั้น คิดว่าผมและผู้อ่านคงทราบดีอยู่แล้ว ถ้าจะว่าไปความโดดเด่นด้านอื่น ๆ ไม่รวมเสียงเบสทุ้มต่ำก็นับได้ว่า ดีเยี่ยมมากแล้ว และนี่ล่ะมันท้าทายให้เราอยากปรับปรุงพัฒนาให้มันครอบคลุม ครบเครื่องต้มยำมากขึ้นกว่าเดิม แน่นอนครับมันยากมันท้าทาย แต่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้เหล่าบรรดานัก diy อย่างเราท่านหรือจะยอมสยบกันง่าย ๆ ได้ไง..ต้องการสิ่งที่ดีกว่าแต่ว่านั่งรอ นอนรอเฉย ๆ คงไม่ใช่วิสัย มันก็ต้อง ได้ออกเรี่ยวออกแรงกันหน่อย งั้น....มากันเล้ยยยยยพี่น้องงงงงง......
ไม่ต้องพร่ามให้ยาว เตรียมอุปกรณ์กันเลยครับ


= แน่นอนดอกลำโพงขนาด 3 " อาจหายากมากแล้ว แต่ถ้าท่านคิดว่าไม่มีปัญหากับการสั่งซื้อของดี ๆ ก็ลองลิ้งค์นี้ดูครับเป็นของยี่ห้อ tung - band speakers

= ท่อ Pvc ขนาด 4นิ้ว อย่างหนาที่สุดเท่าที่จะหาได้ ความยาวแล้วแต่เหมาะสม ของผมนี่ใช้ความยาว 75 cm จำนวน 2 ท่อน รวมความสูงที่สวมกับข้องอ 90 องศาแล้วดอกลำโพงสูงระดับหูขณะที่ผมนั่งโซฟาพอดีครับ

= ข้องอ 90 องศา จำนวน 2 ตัว
Photobucket

= แผ่นไม้ Mdf หนา 14 mm สำหรับทำหน้าแปลนยึดดอกลำโพง ทำแผ่นกันห้อง และทำฐานยึดท่อด้วยอีกทีไปในตัว ในส่วนที่เป็นฐานก็แล้วแต่ว่าท่านจะออกแบบ ให้เป็นรูปแบบอย่างไรแบบไหน จะ 3 เหลี่ยม 4 เหลี่ยม หรือวงกลม ขึ้นอยู่กับจินตนาการและดีไซน์ของแต่ละท่านละกันนะครับ

= น๊อตเกลียวปล่อย สำหรับยึดดอกลำโพง ยึดฐานแผ่นไม้กับท่อ น๊อตเกลียวมิลเบอร์ 10 ยาว 3 นิ้ว เจียรปลายให้เป็นเดียแหลม สำหรับปรับระดับสูงต่ำของฐานแท่นยึด ให้ท่อพอร์ท ระบายอากาศ ยิงลงสู่พื้น การปรับสูง / ต่ำมีผลต่อเสียงเหมือนกันนะครับ เนื่องเพราะว่าระยะความห่างระหว่างท่อพอร์ทกับพื้นที่เหมาะสม ความมั่นคงที่ได้รวมทั้งช่วยลดการสั่นสะเทือนของตู้ด้วยอีกทางหนึ่ง

= ไบดิ้งโพส สำหรับทำขั้วต่อสายลำโพง แล้วแต่ท่านจะหาได้มีตั้งแต่ ตัวละ 10 ไปจนถึงตัวละเป็น 1000 จำนวน 2 คู่ อันนี้ผมใช้คู่ละ 30 บาท มีอยู่แล้ว ถ้าอยากให้ดีกว่านั้นก็ไปจ้างเขาชุบเงิน หรือ ชุบทอง ให้หนา ๆ ก็เป็นอันใช้ได้เหมือนกันครับ
Photobucket

= อื่น ๆ ก็มี กาวลาเท็กซ์ สว่านไฟฟ้าหรือแบตเตอร์รี่ เลื่อยจิ๊กซอว์ โฮลซอว์เจาะลูกบิดแบบปรับขนาดรูได้ สีสเปย์ กระดาษทราย ใยสังเคาะห์ที่ใช้ในตู้ปลา เอาไว้บุตู้และจูนเสียง รวมงบประมาณทั้งหมด คร่าว ๆ ไม่น่าจะเกิน 1500 บาทต่อตู้ 1 คู่........อันนี้เด็ดสุด ๆ ที่ขาดไม่ได้คือต้องสละเวลาว่างของท่าน และมาลงไม้ลงมือกันได้เลยครับ

วิธีการก็ตามรูปถ่ายคร่าว ๆ คิดว่าทุกท่านคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าจะต้องทำอย่างไรกันบ้าง แต่ผมก็จะขอแนะเทคนิกเล็ก ๆ น้อย ๆ ใยแก้วสังเคาะห์ ให้ฉีกแยกออกมาเป็น 2 ชั้น แล้วเราจะได้ 2 ชิ้น เพียงพอสำหรับตู้สูตรนี้ ส่วนท่านจะลองจูนใส่มากใส่น้อย ก็ต้องลองดูกันเอาเองนะครับ ผมเคยลองฟังแบบไม่ต้องใส่เลย ปราช่อนว่า ...เอ๊ย..ปรากฏว่าเสียที่ได้อู้ ๆ ก้อง ๆ โด่ง ๆ ทะแม่งชอบกลไม่ดีเอาซะเลย คิดว่าไม่ใส่ไม่ได้นะครับสำหรับใยแก้วสังเคาะห์ลองจูนจนกว่าจะได้เสียงเป็นที่พึงพอใจ ก็เป็นอันเสร็จ



และแล้วก็ถึงเวลาทดสอบเสียง ..ผมรู้นะครับว่าทุก ๆ ท่านต่างก็ รอขั้นตอนนี้กันอยู่แล้ว แต่ผมแกล้งโม้ไปเรื่อยเปื่อยซะงั้นแหละ หุหุ สำหรับชุดที่ใช้ทดสอบมีดังนี้ครับ DVD Pioneer dv-595 k โมภาคเสียงนิดหน่อย ปรีแอมป์หลอด Pv 01 ทำเอง เพาเวอร์แอมป์ F5 / 25 W ทำเอง สายสัญญาณเป็นสายเงิน Diy เอง สายลำโพง belden เตรียม แผ่นที่โปรดปรานเอาไว้ จัดแจงทุกอย่างเรียบร้อยแล้วก็ได้เวลาเอนหลังลงโซฟาจิบน้ำชาผสมโซดาบาง ๆ เอ๊า...ฟังกันเลยครับ

น้ำเสียงแรกที่ได้ยินนั้น โอ้วววแม่จ้าวววว...หูผมไม่ได้ชา ตาก็ไม่ได้ฝาด...แทบไม่อยากเชื่อหูและฝีมือของตัวเองที่ได้รังสรรค์ดอกลำโพงขนาด 3 นิ้ว ให้มันเปล่งเสียงออกมาได้อลังการงานสร้างขนาดนี้ เสียงทุ้มเสียงเบสลงได้ต่ำ แน่นลึกไม่อุ้ยอ้ายอืดอาด เชื่องช้า บวมเป่ง ไร้คุณภาพนะครับ แต่มันให้เสียง กลมกลืนอิ่มอวบ พอเหมาะพอเจาะสมดุลย์กับเสียงย่านอื่น ๆ ....สาแก่ใจแน่แล้วเราเรียกร้องโหยหาประชาธิปไตยมาตั้งนาน...เย๊ย ไม่เกี่ยว.. อา....ประตูสวรรค์ชั้นดาวดึงค์เริ่มเปิดแง้มแสยะยิ้มต้อนรับเราบ้างแล้ว...อูยยย...ซีสสสส..

แนวเสียงย่านกลางแหลมนั้น ดูเหมือนว่าลดความโดดเด่นลงมาบ้างเล็กน้อย อาจด้วยเพราะว่ามีเสียงย่านต่ำเสริม เพิ่มขึ้นมานั้นเอง แต่แนวเสียงยังคงบุคลิกเดิมไม่เปลี่ยนสีเปลี่ยนเสียงให้ถูกดูแคลนว่าไร้ซึ่งอุดมการณ์แต่อย่างใด...อุอุ หรือเปลี่ยนแต่ก็เปลี่ยนไปในแนวทางที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทำให้ฟังเพลงได้หลากหลายแนวมากยิ่งขึ้นไม่ว่าผมจะหยิบแผ่น Cd อัลบัมไหนใส่เข้าไปผมก็ได้ดื่มด่ำเสพหรรษากับบทเพลงที่มันได้ถ่ายทอดออกมาอย่างไม่ขาดตกบกพร่อง นับว่าเป็นลำโพงที่ให้เสียงในแบบที่ผมใฝ่หาในรอบหลาย ๆ ปีของการเล่นเครื่องเสียงแนว Diy ของผมเลยนั่นเทียว อาจจะใจง่ายสักนิดหนึ่งที่ผมเปิดใจให้โอกาศ อะไรใหม่ ๆ อยู่เสมอ โดยเฉพาะอะไรที่ทำด้วยตัวเราเอง เยี่ยงนี้แล้วก็เอาเป็นว่าอย่าเชื่อผมมากนะครับต้องลองดูด้วยตัวเองเท่านั้นดีสำหรับหูตะกั่วอย่างผมอาจแย่สำหรับท่านก็ได้ ของแบบนี้นา ๆ จิตตัง ถ้าโครงการนี้มันจิ๊บ ๆ สำหรับท่านอยากจะทำเป็นการเป็นงานใช้ดอกลำโพงดี ๆ ก็เข้าไปเลือกดูได้ที่นี่ครับมีครบครันพร้อมสรรพแน่นอน

ศูนย์รวมลดอกลำโพง

วันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2553

มาเดินเล่นตลาดนัดเปิดท้ายกันดีกว่า

เกริ่นหัวเอาไว้สำหรับทุกท่านที่เป็นนักเดินตลาดนัดเปิดท้ายมืออาชีพก็ไม่ขอเอามะพร้าวมาขายสวนนะครับ....แต่สำหรับท่านที่ยังไม่เคย ผมก็จะขอบอกเล่าประสบการณ์เรื่อยเปื่อยของผมให้ฟัง ความเป็นมาเป็นไปของตลาดนัดเปิดท้ายนี่ เริ่มตั้งแต่สมัยก่อน ๆ ตอน เศษฐกิจฟองสบู่แตกใหม่ ๆ หลาย ๆ ท่าน ตกการตกงานตั้งตัวรับกันไม่ทันก็หันมาขายของเก่าที่ไม่ได้ใช้แล้ว ก็ของในบ้านนั่นล่ะครับ จิปาฐะสาระพัด ปากา เสื้อผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ นา ๆ สาระพัด นำใส่ท้ายรถมาขายตามสถานที่ต่าง ๆ ที่เปิดให้ขาย ก็เพลิดเพลินกันทั้งคนซื้อคนขายเลยล่ะครับ คึกคักน่าดู

หลายท่านบอกว่าจะไปเดินตากแดดตากลมแออัดยัดเยียดกันทำไมล่ะ อยากได้อะไรก็แค่คลิ๊กเอาในเน็ต ครับผมไม่เถียง แต่ว่าการได้เดินหาเดินซื้อ แบบ เห็นจะ ๆ จับต้องได้ ต่อรองพูดคุยได้ผมว่ามันก็มีสเนห์ของมันนะครับ.......ไม่งั้นคงไม่มีตลาดนัดหลงเหลืออีกแล้วในตอนนี้ เอาตั้งแต่โน่นเลยต้นตำหรับ คลองถมไงล่ะครับ ลองไปเดินดูสิ เริ่มกันคืนวันเสาร์ ยันค่ำวันอาทิตย์ รับรองได้เสียตังส์กันแน่ผมว่า ของขายก็ จิปาฐะ นา ๆ สาระพัด ผมก็เดินบ่อยในสมัยก่อน และเดียวนี้ก็ยังไปเดินถ้ามีโอกาส ส่วนมากจะเป็นของเก่ามือสองซะเป็นส่วนมาก ของใหม่ก็มีเยอะแยะ เอาเป็นว่ามันสนุกครับ

ผมเคยได้ลำโพงสำหรับคอมของฟิลลิปป์ คู่ละไม่ถึงร้อย.......พวกหลอดสำหรับทำแอมป์ทำปรี ฯ ก็มีออกบ่อย ๆ แต่เดียวนี้ไม่ค่อยมีกันแล้วครับ เอาเป็นว่าไม่ว่าตลาดนัดไหน ๆ ก็พยายามจำลองบรรยากาศมาจากคลองถมกัน แทบทั้งนั้นครับ ลองดูแถว ๆ บ้านของท่านดูสิ...........และก็ลองไปเดินดูเล่น ๆ อาจได้อะไรที่เรา ๆ ท่าน ๆ สนใจและอยากได้มานานในราคาถูก แต่บางทีก็ไม่ถูกนะครับ อันนี้จำเป็นที่เราต้องมีข้อมูลความรู้เกี่ยวกับของที่เราอยากได้พอสมควรนะครับ ไม่งั้นแล้วพี่เขาจะฟันเราหัวแบะ.....มีบางช่วงผมได้ เพาเวอร์ซัพพลายคอม Enamax 460 W ตัวละ 800 บาท สภาพดี ตัวใหม่รุ่นนี้อยู่ที่ 2400 – 2600 เชียวนะครับ..........แล้วยังมีลำโพงรถยนต์เก่า ๆ แบบฟุลเลนจ์ราคาน่าสนใจเป็นระยะ น่าเอามาลองทำไว้ใช้กับแอมป์หลอดเป็นอย่างยิ่ง

โดยรวมแล้วสนุกครับไปเดินทุกครั้ง อาจได้หรือไม่ได้อะไรติดมือกลับบ้านเลยก็ได้ก็ไม่ต้องซีเรียส ถือซะว่าออกไปเดินเล่นเรียกเหงื่อ ...อย่างผมนี่แถวบ้านก็ตลาดนัดปัฐวิกรณ์ ผมเดินออกบ่อย ๆ แต่ช่วงนี้เป็นข่าวอยู่คนก็หาย ๆ ไปเยอะ ทั้งคนซื้อ ทั้งคนขาย สรุปก็คือว่าง ๆ ก็ควรหาโอกาสไปลองดูครับไม่ว่า คลองถม หรือว่า ในระแวกที่ท่านอาศัย อาจมีคลองถม 2 3 4 5 หรืออะไรที่ทำนองนี้รับรองได้ว่าสนุกครับ

วันอาทิตย์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2553

คันเล็ก ๆ น้อย ๆ กับ Diy dvd pioneer 595 k





มิตรรักนักเพลงที่รักทุกท่านครับ..ล้อมวงเข้ามาสิครับวันนี้กระผมจะมาบ่น เอ๊ย..แก้ปัญหาอาการถาดรับแผ่นชักดาบครับพี่น้อง...เอ๊ะ..ยังไง

ครับหลาย ๆ ท่านที่ใช้ เครื่องเล่น Dvd pioneer ในซีรี่ส์คล้าย ๆ กันนี้กันเป็นจำนวนไม่น้อย ที่จะต้องประสพพบพานปัญหารบกวนอารมณ์ อันสุนทะรียะของท่านไม่มากก็น้อย นั่นก็คืออาการถาดรับแผ่นชักดาบครับ หุ หุ..อันนี้ผมบัญญัติศัพท์ขึ้นมาเน็บแนมแกมประชดประชันเอาเองน่ะท่าน....มันเป็นไงบ้างล่ะไอ้ทิดสึกใหม่อาการที่ว่าน่ะ.....แหะๆ ก็เวลาเรากดปุ่ม open / close เพื่อทำการใส่แผ่นหรือเปลี่ยนแผ่น ก็ดูเอาสิพอเราเอื้อมมือบรรจงวางแผ่นอันแสนแหนหวง ยังไม่ได้วางดีหรือวางแล้วแต่ยังไม่ตรงร่องรับแผ่นดี ไอ้เจ้าลิ้นชักจอมแสบมันก็แอบชักดาบคามแผ่นของเราไปดื้อ ๆ ต่อหน้าต่อตา....อาการตื่นตะลึงระคนตกใจเจ็บแค้นพลางมองดูผลจากการกระทำของมัน...

ไอ้เราใส่แผ่นตรงแล้วไม่ว่าก็โชคดีไป แต่ถ้ายังไม่ล่ะ ลองคิดดูว่าแผ่นอันแสนหวงที่เรามีไว้สำหรับ เสพ สุน ทะ รี ยะ มันจะอยู่ในสภาพไหนกัน ไม่อยากจะคิด.......หึ๊ยยยย...มันน่านัก...เด๋ว ช้าก่อน ช้าก่อน สหายร่วมอุดมการณ์เอ๋ย อย่าพึ่งทุบด้วยกำปั้นข้างขวาที่กำหมัดแน่นเอี๊ยดเต็มเหนี่ยว หรือ จับยกเครื่องเจ้าปัญหาขึ้นจนสุดแขนก่อนจะทุ่มลงบนพื้นกระเบื้องหินอ่อนดูราเกรส.....สะหายเอ๋ย...อาการเยี่ยงนี้ถึงมันจะมีผลต่ออารมณ์อันละเมียดละไมละมุนของเรา แต่กระผมว่า อาการเยี่ยงนี้ใคร ๆ ก็ซ่อมกันได้ง่ายนิดเดียวดุจปอกทุเรียนด้วยมือเปล่านะท่านเอ๋ยถึงจะไม่ใช่ช่างอิเล็กมือทองชั้นเทพก็เหอะ...55..อ่ะล้อเล่ง...


ด้วยว่าโครงสร้างเครื่องในซีรี่ส์นี้ แผ่นปิดหน้ากากถาดรับแผ่นเป็นแบบฝาพับปิดแบบมีสปริงดึงเอาไว้ เวลาถาดสไลด์ออกมา ฉะนั้นแล้วมันย่อมดันถาดให้ยกหน่อย ๆ ตามแรงของสปริง....อีทีนี้ ถ้ามอเตอร์โหลดแผ่นอ่อนแรง หรือ สายพานโหลดแผ่นเกิดอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ..เอ๊ย..สายพานหย่อนยานเสื่อมสภาพ เลยเป็นเหตุแห่งการชักดาบแผ่นกินไม่แบ่งดุจลอตเตอรี่ที่เราท่านมิพึงปราถนายิ่ง...

อย่ากระนั้นเลยรีบยกมันมาขึ้นเขียงชำแหละส่งเวียดนามกันดีกว่า...ง่ะ..มะใช่เนื้อเอ๋ง...ยกขึ้นโตะซ่อมประเดี๋ยวนี้เลยเครื่องหมดประกันไปนานแล้วมิใช่เร๊อะท่าน....ในเบื้องต้นก็เอาแบบง่าย ๆ กันไปก่อน นั้นก็คือเปิดเครื่องกดปุ่มให้ถาดสไลด์ออกมาเสร็จแล้วถอดปลั๊กไฟซะให้ถาดมันค้างเติ่งคาเด่ อยู่เยี่ยงนั้นแล ถอดออกมาซะสายพานเส้นดำ ๆ คล้ายหนังยางรัดถุงแต่เป็นสีดำนั่นแหละ แล้วก็รีบบึ่งเข้าร้านขายอะไหล่อิเล็กทรอนิกส์ซะโดยไว บอกคนขายว่าเอาตามตัวอย่างนี่แหละแต่ขอให้เส้นรอบวงเล็กลงหน่อย เอาสักรอบในก็แล้วกัน........ครับจ้าววววนายยย เดี๋ยวจัด....จะรับซาละเปาหนมจีบอีกไหม..เออ..อืมมมม...ก็ดีเหมือนกันไหน ๆ ก็ไหน ๆ เอาเต้ารับตัวผู้ที่อยู่ในก้น เพาเวอร์ซัพพลายของคอม ฯ อีกสักอันด้วยก็ดี...หรือถ้านึกขึ้นได้ว่ามีเพาเวอร์ซัพพลายคอม ฯ ที่บ้านไม่ได้ใช้หรือมันเสีย ก็ไม่ต้องหาเรื่องเสียเงินเพิ่มก็ได้..เอาแค่สายพานอย่างเดียวนั้นแหละ ร้านขายเขี้ยวขนาดไหน เส้นหนึ่งก็ไม่น่าจะเกิน 10 บาทร๊อก...


กลับถึงบ้านใส่สายพานเสร็จ ก็ทำการเจาะแล้วตะไบตูดเครื่องให้ได้ตามรูปที่เห้น แค่นี้ก็เราก็ได้อัพเกรดจาก DVD ที่สุดแสนธรรมดาให้มันมีหน้าตา...ไม่ใช่สิ ให้มันมีบั้นท้ายที่สุดแสนจะเย้ายวนดูดีมีชาติตระกูลควรค่าวิถี Hi-end กันแล้ว หรือ...ทำแค่นี้ยังไม่หนำ อยากปู้ยี่ปู้ยำขยำขยี้ ในวงจรส่วนอื่น ๆ ให้สาแก่ใจก็เชิญตามสะดวกท่านเถิด....อย่างที่เครื่องของผมนี่เอาไว้ให้ดูคร่าว ๆ เป็นแนวทางประกอบการเขียนบทความในวันนี้เท่านั้นเองครับ....หลับฝันดีแล้วเจอกันใหม่ครับ...หุหุ

เพิ่มเติมในส่วนของ การแก้ไขอาการ แผ่นชักดาบครับ ก่อนหน้านี้ผมได้แนะนำเอาไว้อย่างง่าย ๆ ว่า ให้ลองเปลี่ยน สายพานดูก่อน แต่ด้วยว่าโครงสร้างระบบกลไกส่วนประกอบต่าง ๆ ของถาดรับแผ่น มันข้อนข้างซับซ้อนพอสมควรแต่ก็ ไม่ยากแก่การศึกษาตรวจซ่อมด้วยตัวเราเอง สำหรับอาการนี้ หลังจากเปลี่ยนสายพานแล้ว อาการยังไม่หาย หรือเหมือนจะหาย ก็ไม่ต้องตกใจ หรืออย่าพึ่งก่นด่ากระผมว่าโม้แหกตานะครับ....55 เพราะนั้นผมแนะนำเอาไว้แล้วว่าวิธีง่าย ๆ ซึ่งอาจจะได้ผมหรือไม่ได้ผลก็ได้
เอาล่ะ มาดูกันว่ามันประกอบไปด้วยอะไรกันบ้างสำหรับ อุปกรณ์ชิ้นส่วน ของถาดรับแผ่น

1 มอเตอร์ อันนี้เป็นที่แน่นอนอยู่แล้วครับสำหรับการโหลดรับแผ่น เข้า / ออก ถ้า มอเตอร์ อ่อนแรง ในเบื้องต้น ให้ใช้หัวแร้งปลดบัดกรี เอาสายไฟเลี้ยง มอเตอร์ออก ถอดสายพานออก เสร็จแล้ว ลองเอาไฟ Dc ประมาณ ไม่เกิน 10 V กระตุ้น ถ้าโวลท์สูงไม่ควรกระตุ้นนานนะครับ เดียวมอเตอร์มันจะเดี้ยงซะก่อนต้องลองกะดูกันเอาเองครับ วิธีนี้ผมใช้ได้ผลมาแล้ว

2 สายพานอย่างที่เรียนให้ทราบ ว่าถ้าถอดออกมาแล้วมันไม่กลมดิ๊ก แต่เป็นกลมแบบทรงรูปไข่ ก็ให้เปลี่ยนซะ ตามที่แนะนำไปแล้ว ว่าให้เทียบเอารอบในของเส้นเก่า

3 ลิมิตสวิทซ์ อันนี้ให้ใช้น้ำยา ฟิลลิปป์ กระป๋องแดง ฉีดแล้วกดย้ำ ๆ ต้องนาน ๆ หน่อย จนกว่าจะแน่ใจว่าหน้าคอนแท็กมันสะอาด ส่งผ่านแรงดันไฟได้ดีไม่สะดุดแล้ว ก็เป็นอันใช้ได้ ผมเคยถอดออกมาขัดหน้าคอนแท็กด้วยกระดาษทรายละเอียดนะครับ แต่ก็เป็นถาดของเครื่องเล่น VCD ของจีนแดง สมัยเก่า คอนแท็กสวิทซ์ตัวใหญ่เลยทำอย่างนั้นได้ แต่สำหรับเครื่อง Pioneer หรือของแบรนด์เนมทั้งหลาย อาจเป็นแค่ตัวเล็ก ๆ คงถอดออกมาทำอย่างว่าไม่ได้ เปลี่ยนได้ก็ควรเปลี่ยนตัวใหม่ใส่เข้าไปครับ..........ถ้ายังไม่หายใน 3 ขั้นตอนนี้ ผมว่าควรยกไปให้ช่างเขาได้ตังส์กับเราบ้างแล้วล่ะครับ...แค่นี้ก่อนนะครับ

วันอังคารที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2553

เจ็บ ๆ กับ diy speakers pvc tube

Speaker DIY

จั่วหัวเอาไว้ให้ได้คัน ๆ ซะงั้นแหละครับ จริง ๆ แล้วผมแค่อยากนำเสนอ การสร้างตู้ลำโพงจากท่อ pvc ด้วยเห็นว่าสร้างกันได้ง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อนกันซักเท่าไหร่ ซึ่งก็เหมาะมากสำหรับมือใหม่หรือสำหรับผู้ที่สนใจงานด้าน diy รับรองว่าทำกันได้ง่าย ๆ สิว ๆ ส่วนท่านที่จะนำไปปรับปรุงพัฒนาต่อยอดให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นถูกต้องตามหลักการวิชาการด้านนี้โดยตรง ก็ยินดีอย่างยิ่งครับผม โครงการนี้เริ่มต้นด้วยการใช้ดอกลำโพงขนาด 3” นิ้ว ซึ่งตอนนั้นผมได้ซื้อมาจาก ร้าน อมร บ้านหม้อ ในราคาที่ไม่ต้องลำบากยากเข็ญทุรนทุราย แค่ ดอกละ 70 บาทเท่านั้นเองครับ ดอกลำโพงก็เป็นแบบ Full range ซึ่งก็น่าจะง่ายสำหรับการออกแบบตู้รวมทั้งไม่ต้องกังวลเรื่อง อุปกรณ์เน็ทเวอร์กแยกความถี่ให้ยุ่งยาก แต่ก็ใช่ว่าจะง่ายซะจนทุกอย่างจะโรยด้วยกรีบกุหลาบนะครับ เพราะถ้างั้นแล้วงาน Diy คงหมดความเร้าใจสนุกสนานเป็นแน่แท้

พูดถึงร้านอมรนี่หลายท่านที่เป็นนักอิเล็กทรอนิกส์ หรือหลายท่านที่สนใจในด้านนี้คงรู้จักกันเป็นอย่างดีเลยนะครับ โดยเฉพาะมีของ แปลก ๆ ดี ๆ ราคาถูก ๆ มาขายเป็นระยะนะครับ แล้วแต่ช่วงแล้วแต่จังหวะ แล้วแต่บุญกรรมที่ได้ร่วมสร้างกันมา 55.. สินค้าโดยส่วนใหญ่เป็นหมวดอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นอะไหล่อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ และมีบางช่วงบางจังหวะที่มีของที่นัก Diy อย่างเรา ๆ ท่าน ๆ เห็นแล้วต้องได้เสียตังส์ อย่างเช่น Power supply สำหรับเครืองคอมพิมเตอร์ยี่ห้อดัง ๆ วัตต์เต็ม ๆ ราคาแสนถูก หรือดอกลำโพงต่าง ๆ ที่นำมาขายซึ่งบางทีแล้วพิจรณาดูดี ๆ แล้วน่าจะเป็นของดี ราคาก็ค่อนข้างถูก แต่ก็มีมาไม่บ่อยนะครับ แล้วแต่จังหวะ ถ้าโชคดีเจอแล้วรีบซื้อเลยครับไม่ต้องลังเล เพราะถ้าหวนกลับมาอีกทีก็อาจจะได้ รอยยิ้มเซ็ง ๆ จากพนักงานที่นึกในใจว่า ไอ้นี่มันจะดูจะถามอะไรของมันนักหนาวะ ซื้อก็ไม่ซื้อ...( ฮา )

ผมก็คิดว่าผมโชคดีที่ได้ลำโพงที่ว่าในล็อตนั้น ได้มาแล้วก็มานั้งขบคิดว่าจะทำตู้ใส่อย่างไร เพราะสเป็กอะไรต่าง ๆ ไม่มีเลย มีแต่ที่พิมพ์เอาไว้ที่ตัวแม่เหล็กว่ามันเป็นดอกลำโพง 4 ohm ผลิตใน Taiwan เท่านั้นเอง เครื่องไม้เครื่องมือเราก็ไม่ได้มีขนาดว่านึกอยากจะทำอะไรแบบไหนก็ทำได้ดั่งใจคิดซะเมื่อไหร่ ...คิดไปคิดมาก็เห็นแต่ข้องอ 90 องศาขนาด 4 “ นิ้วนี่ล่ะ พอนั่งจินตนาการวาดวิมานกลางอากาศเสร็จแล้ว ก็ไปซื้อข้องอที่ว่าที่ร้านขายวัสดุก่อสร้างตัวละ 70 บาทเท่านั้นเอง ได้มาแล้วก็ใช่ว่าทุกอย่างมันจะราบรื่นนะขอรับท่าน ขอบของมันบางครับ บางพอ ที่จะยึดชิ้นงานอะไรไม่ได้เดือดร้อนต้องไปหาท่อ ขนาด 4” นิ้วมาสวมเข้าปลายทั้งสองด้านจนสุด แล้วตัดแต่งให้เรียบแล้วก็ได้พื้นที่ความหนาของท่อข้องอ พอที่จะยึดชิ้นงานได้แล้วครับ จากนั้นก็เตรียมแผ่นไม้วงกลมพอดีกับท่อข้องอสำหรับเป็นด้านที่ยึดดอกลำโพง ส่วนอีกด้านเอาไว้ยึค แผ่นไม้สำหรับทำขาตั้งและ เป็นรูระบายเบสไปด้วยในตัว โดยผมตัดท่อ pvc ขนาด 6 หุน ยาวประมาณ 10 cm แล้วยึดด้วยกาวและน๊อตเกลียวปล่อย ปลายทั้ง 3 ด้านก็ใช้สว่านขนาดเล็กกว่าน๊อตตัวเมียเบอร์ 10 mm แล้วใช้ปากกาหนีบน๊อตตัวเมียอัดเข้าไปกับรูที่เจาะเอาไว้ แล้วเราก็ใช้น๊อตตัวผู้ยาวประมาณ 2 นิ้ว มาเจียรปลายให้แหลมไว้หมุนปรับระดับความสูงต่ำของ ท่อระบายเบสที่ยิงลงพื้นห้อง หรือชั้นวางด้วยไปในตัว
จัดการตามขั้นตอนเสร็จทุกอย่างก็ประกอบออกมาได้ตามรูปปลากอบ เก็บชิ้นงานทำสีเรียบร้อยเสร็จสรรพ ก็ประกอบได้ออกมาดั่งรูป ทีนี้ก็พร้อมที่จะได้ทดลองสดับรับฟังกันแล้วครับ เรามาลุ้นด้วยกัน

ชุดเครื่องเสียงที่ผมได้ทำการทดสอบก็เป็นชุดที่ทำเองเกือบทั้งหมดล่ะครับ ยกเว้น เครื่องเล่น CD รวม ๆ แล้วก็มีดังนี้ครับ CD ใช้ DVD Pioneer dv-595 k โมภาคเสียงนิดหน่อย ปรีแอมป์หลอดทำเอง Pv 01 เพาเวอร์แอมป์ F5 ตัวที่ใช้เขียนบทความนั้นล่ะครับ สายสัญญาณทำจากสายเงินทำเอง สายลำโพง belden วางลำโพงที่ชั้นวาง TV ห่างกันประมาณ 120 cm ทีนี้ก็มาดูผลการทดสอบคร่าว ๆ ไม่มีพิธีรีตรองกันได้ครับ

สุ้มเสียงแรกที่ได้....บ๊ะ...เข้าท่าเว้ยเฮ้ย...เสียงมีแววดีเสียงดีไม่ใช่เล่น ไม่น่าเชื่อว่าลำโพงที่เราทำเองกับมือด้วยราคาอันแสนถูกคู่ละไม่เกิน 500 บาท......ครับไม่เกิน 500 บาทมันจะให้น้ำเสียงได้ขนาดนี้ เสียงที่ได้ ปลอดโปร่งโล่งสะอาดกระจ่างใสเกลี้ยงเกลา อวบขาวนวลเนียนนุ่มลืน..55 ชัดเจนจะแจ้งไม่คลุมเคลือมัวหมอง อิ่มแน่นมีเนื้อมีหนังโดยเฉพาะเสียงร้องชัดเจนมาก เสียงแหลมใสขึ้นได้สูงพอตัวแม้ว่าขึ้นสูงไม่สุด แต่ก็ไม่ได้รู้สึกว่าขาดแคลนแต่ประการใด ส่วนเสียงเบสเสียงความถี่ต่ำลงได้ไม่ลึกเท่าที่ควรเท่านั้นเอง
แต่เบสเท่าที่มันขับออกมาได้ก็มีออกมาแน่นกระชับโดยเฉพาะเสียงกลองสแนร์มันช่างอิ่มแน่นจะแจ้ง สดๆ เป็น ๆ เหงือกแดง ๆ ดิดดิ้นสู้มือ .. ( ขอโทษฮะเจ้า..นั่นปลาหรือลำโพงฮะ..).. 555 ไม่ชักช้าอืดอาดนะครับ ฟังดูรวมรวม  แล้วก็พอใจมากสำหรับผม ถ้าได้เบสต่ำ ๆ เพิ่มขึ้นมาอีกซักหน่อยล่ะก็ ยอดเยี่ยมไปเลย อันนี้ก็ต้องเข้าใจครับ จะคาดหวังกับลำโพงขนาด 3 “ นิ้ว ยี่ห้อก็ไม่มี จะให้มันได้เสียงครบทุกย่าน อีกทั้งมีมิติเวทีเสียงที่ดี ดูออกจะคาดหวังเกินเลยกันไปหน่อยสำหรับลำโพงราคาดอกละไม่ถึงร้อย ลำโพงสำเร็จรูปคู่ละหลักหมื่นบาทบางคู่ยังให้เสียงครบเครื่องต้มยำน้ำข้นอย่างว่าไม่ได้เลยนะคร๊าบ...ปั๊ดโธ๊......55 แต่โดยรวมแล้วก็ดีมาก ๆ แล้ว และคุ้มค่าสุด ๆ ครับสำหรับโปรเจ็กนี้ และผมก็ยินและอดไม่ได้ที่จะนำประสพการณ์ที่ดีอย่างนี้ มาแบ่งปันนำเสนอสิ่งดี ๆ สำหรับผมและทุก ๆ ท่านที่สนใจครับ

อ่านต่อเวอร์ชั่นที่ 2 คลิ๊ก

วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2553

diy F5 amp ใคร ๆ ก็สร้างได้ ตอนจบ






ที่มาจากตรงนี้ครับ

4 ในตอนที่แล้ว ออกนอกทางเข้าป่าเข้าดงนอกเรื่องนอกราวไปซะไกล วกกลับเข้ามาถึงขั้นตอนการสร้าง power amp First watt F5 diy ตามแบบฉบับอนาถาของผมดีกว่า 55 .....แผ่นปริ๊นลายวงจรก็ตามรูปนะครับ นำไปเจาะรูสำหรับลงอุปกรณ์ซะ.. มีเทคนิกในการเจาะรูแนะนำนิดหน่อยก็คือ ให้นำแผ่นปริ๊นที่เราจะเจาะ หงายท้องขึ้น แล้วตีเส้นคร่าว ๆ สำหรับอุปกรณ์ที่จะลงในแผ่นปริ๊น ตีเส้นตัดทั้งแนวนอนแนวตั้งตัดขวางกันก็ตีไปเลยครับ เวลาเราเจาะจริง ๆ จะได้รูที่แม่นพอลงอุปกรณ์แล้วจะได้เรียงแถวเป็นระเบียบสวยงาม และต้องไม่ลืมที่จะต้องใช้ ทินเนอร์ลบเส้นที่ขีดด้วยล่ะครับ โดยเฉพาะเส้นที่ขีดด้วยดินสอเพราะอาจทำให้ผงคาบอนในเส้นดินสอที่ขีดอาจลัดวงจรเอาได้ เจาะเสร็จล้างแผงวงจรเสร็จเคลือบด้วยน้ำยาเครือบลายปริ๊น แล้วก็บรรจงลงอุปกรณ์ได้เลย โดยลงอุปกรณ์ตัวต่ำ ๆ ก่อนจำพวก R ทั้งหลายตัวเล็กตัวน้อย อย่าลืมวัดก่อนให้ละเอียดอีกทีก่อนลงอุปกรณ์ก่อนล่ะครับเพราะบางค่าบางสีเราอาจหลง ๆ ลืม ๆ ใส่ผิดค่าจะได้ป้องกันเวลาวงจรไม่ทำงานด้วยสาเหตุใส่อุปกรณ์ผิดค่า

อุปกรณ์อีกตัวที่ผมจะแนะนำกำชับคือ VR 5 K ให้ซื้อแบบ 25 รอบนะครับ ที่ร้านโชคชัยตัวละ ไม่เกิน 15 บาท ร้านอื่น ๆ อาจแพงกว่านั้น ผมว่ามันปรับได้ง่ายและละเอียดดี เวลาจะใส่ให้เอาหัวหัวน๊อตที่ใช้ปรับค่า จะหันหัวขึ้นก็ได้หรือลงก็ได้นะครับ เครื่องที่ผมทำผมหันหัวลงทุกตัว ฉะนั้นเวลาปรับ ออฟเซ๊ท เพิ่ม - ลด แรงดันตกคร่อม R 11 , R 12 ค่า 0.47 / 3 W ถ้าปรับหมุน วนขวาไปตามเข็มนาฬิกาจะเป็นการ ‘เพิ่ม’ แรงดันครับ...แต่ในกรณีนี้ให้ปรับลงมาซ้ายสุดทุกตัว ก่อนที่จะจ่ายไฟให้กับวงจร ก็เท่ากับว่ามีแรงดันออฟเซ็ทเท่ากับ ศูนย์ จะได้ลดอาการระทึกตอนเปิดสวิทซ์ครั้งแรกน่ะครับ....แต่ยังไงก็ตื่นเต้นระทึกอยู่ดีล่ะผมว่ายิ่งกระแสเยอะ ๆ อย่างวงจรนี้ล่ะก็กลัวมันบึ้มใส่หน้าจริง ๆ ให้ตาย....

เครื่องที่ผมทำนี่ไม่ต้องกังวลเรื่อง ว่าจะต้องหากล่องสำหรับติดตั้ง แต่เราจะใช้ซิ๊งค์(ล้อแม๊กซ์)เป็นกล่องตัวถังไปในตัวเลย เพราะฉะนั้น เราก็จัดเลย์เอ๊าท์ ของเราได้ตามสะดวกสะบายดั่งใจเราต้องการ จะเจาะจะต๊าบเกลียวยึดอุปกรณ์ตัวไหนก็ทำได้ทั้งนั้นครับโดยตัวที่ผมนั้นผมยึด เพาเวอร์มอสเฟท ที่หน้าแปลน สเปเซอร์โดยตรงเลย (แต่ต้องรองด้วยแผ่นยางซิลิโคนหรือแผ่นไมก้ากันชอร์ตด้วยนะ) จะได้ถ่ายเทความร้อนออกจากมอสเฟสได้รวดเร็ว และเฉลี่ยความร้อนได้ทั่วถึงโดยลีกเลี่ยงการติดพัดลมเหมือนเครื่องจริงต้นแบบ ติดตั้งหม้อแปลงวงจรภาคจ่ายไฟเสร็จก็ลองเทสไฟดูก่อนนะครับว่าได้ค่าแรงดันไฟที่ต้องการหรือเปล่าโดยยังไม่ต้องเดินสายจ่ายให้กับวงจรนะครับ ถ้าได้แรงดัน บวก-ลบ ตามวงจรต้องการแล้วในที่นี้ + 25 V - 25 V ได้ต่ำกว่านี้ก็ไม่เป็นไรนะครับเว้นแต่ว่าต่ำที่ควรจะได้จนผิดสังเกตุ ต่ำกว่านี้มาก ๆ C ฟิลเตอร์อาจ รั่วเอาได้ครับ...แต่ถ้าทุกอย่างปกติก็ขอให้สบายใจได้และก็เตรียมขั้นตอนต่อไปได้เลยครับ

เทสไฟตามสเป๊กปกติเรียบร้อยแล้ว เราก็จะได้เดินสายไฟเข้ากับวงจร บวก ลบ กราวด์ จะเลือกเดินไฟเทสวงจรทีละข้างก็ดีมากเลยครับเผื่อเกิดเหตุการณ์อันไม่คาดฝันจะได้ลดความเสียหายได้.....ให้เอามิเตอร์แบบเข็มตั้งย่าน Dc ที่ 10 V จับที่ขั้วลำโพงเสร็จแล้วลองเปิดสวิทซ์ดู............บึ๊ม...!! แฮะ ๆ...อ่ะล้อแล่ง... ถ้าเข็มมิเตอร์ตีขึ้นและตีกลับมาที่ตำแหน่งศูนย์ก็เป็นว่าใกล้สำเร็จแล้วครับ ทีนี้ใช้มิเตอร์ดิจิตอลตั้งย่านวัด DC V วัดคร่อม R 11 หรือ R 12 ซีกใดซีกหนึ่ง ใช้ไขควงแบนเล็กปรับ VR 5 K หมุนไปทางขวามือทีละนิดทีละนิดค่อย ๆ ปรับใจเย็น ๆ สลับข้างปรับอีกซีกหนึ่งสลับกันไปกันมาจนกว่าจะได้ประมาณ 600 มิลลิโวลท์ ( 0.6 V ) ..อย่าลืมวัดดูขั้วไปลำโพงด้วยนะครับ ควรจะได้ ค่าที่ดีที่สุด 0.000 V ได้ยิ่งดีครับ........มีแทคนิกแนะนำคือพอวัดได้ใกล้ 0.6 V ได้แล้วให้เอาข้างนั้นเป็นตัวตั้งเลยครับเสร็จแล้วปรับ ออฟเซ็ทให้ได้ใกล้เคียง ศูนย์ที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ดูท่าทางจะยาก หุ หุ.........ทำอีกกับอีกข้างที่เหลือจนได้ค่าที่เท่ากันจนเป็นที่พอใจ เสร็จแล้วปิดสวิทซ์ กำหมัดให้แน่น ๆ และกระชากลงมาพร้อมส่งเสียง....เยสสสส...เยสสสส....เยสสสส.power amp First watt F5 diy..สำเร็จแล้วโว๊ยยยยยยยย....ขอบคุณ เนลสัน พาส ที่คิดค้นออกแบบวงจรดี ๆ ให้พวกเราชาว diy ได้สร้างกันครับ

สร้างลำโพงเจ๋ง ๆ เจ็บ ๆ อ่านต่อได้ที่นี่ครับ คลิ๊กเลย

วันเสาร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2553

Diy audio F5 amp ใคร ๆ ก็สร้างได้ ตอน 3



ที่มาจากตรงนี้ครับ

หลังจากได้เวลาตระเวณทั่วบ้านหม้อและก็ได้อุปกรณ์ สำหรับโครงการ power amp First watt F5 diy มาจนเกือบครบแล้ว มาดูกันหน่อยซิว่ายังขาดเหลืออะไรอีกบ้าง...อ้อแผ่นปริ๊นนี่เองแผ่นปริ๊นวงจรนี่ อาศัยได้ลายวงจรมาจากเวป Htg2.net ซึ่งผมก็เป็นสมาชิกที่นั่นด้วยน่ะครับ พี่น้อง ๆ ในเวปนั้นมีความรู้และเก่ง ๆ กันทั้งนั้นเลยครับ ที่สำคัญมีน้ำใจช่วยเหลือเกื้อกูลกันดีมาก และมีอีกหนึ่งเวปนั้นก็คือ Audio diyclub.net ที่มีบรรยากาศพี่ ๆ น้อง ๆ เหมือนเวปที่กล่าวมาข้างต้นทั้งที่เปิดได้ไม่นาน คงเนื่องเพราะหน้าเดิม ๆ ในวงการ Diy นี่ล่ะครับ วนเวียน วนเวียนกันอยู่ไม่กี่เวป นับ ๆ ที่นิยมกันจริง ๆ ก็พอประมาณเลยล่ะครับแต่ก็ยังถือว่าคนในวงการนี้ยังน้อยเกินไปนะผมว่า ถ้าจะเทียบกับเวปทั่ว ๆ ไปโดยเฉพาะเวปเกี่ยวกับ ดาราแฟชั่น หมอดู ...ฯลฯ โฮ่ะ ๆ..ไม่ว่ากันครับแล้วแต่ชอบใครมีความสุขเรื่องอะไรก็ตามสะดวกละกัน..แฮะ ๆ

หลังจากได้ลายวงจรกันแล้วก็เซพไฟล์ เอาไปให้ร้านทำแผ่นปริ๊นเขาทำให้นะครับ หรือจะทำเองเหมือนผมก็ได้เหมือนกันโดยวิธีการแบบลูกทุ่ง ลูกทุ่ง นั้นก็คือ นำลายวงจรจากเครื่องคอมของเราพิมพ์ใส่กระดาษออกมา ก่อนหน้านั้นเราต้องซื้อแผ่นปริ๊นเปล่ามาเตรียมเอาไว้ก่อนส่วนจะเป็นแผ่นปริ๊นแบบ ฟินนอริก หรือ กล๊าสอิป๊อกซี่ ก็ได้ทั้งนั้น แผ่นหนึ่งสำหรับวงจรภาคจ่ายไฟ และวรจรเมนแอมป์ ก็ประมาณไม่เกิน 100 บาทครับ เสร็จแล้วนำมาตัดตามขนาดที่ต้องการ ส่วนแผ่นปริ๊นเปล่านั้นให้หาแผ่นสติ๊กเกอร์ตามร้านขายอุปกรณ์เครื่องเขียนสีใดก็ได้นำมาลอกแปะลงบนแผ่นปริ๊นเปล่า ๆ ที่เตรียมไว้ เสร็จแล้วนำกระดาษลายวงจรทาด้วยกาวลาเท็ก แล้วก็แปะลงไปบนแผ่นปริ๊นด้านที่ติดสติ๊กเกอร์อีกที เสร็จแล้วก็ใช้ความเพียรพยายามแกะลายด้วยมีดคัทเตอร์ ลอกลายที่ไม่ใช้ออกเหลือแต่ลายปริ๊นวงจรเสร็จแล้วนำไปกัดด้วยน้ำยากันปริ๊นได้แล้วก็นำไปเจาะก็เป็นอันเสร็จ อ่ออย่าลืมซื้อน้ำยากัดลายปริ๊น และน้ำยาเครือบแผ่นปริ๊นมาด้วยล่ะสองรายการก็ประมาณ 50 บาท

ยัง ยังอีก ดอดสว่านเจาะปริ๊นด้วย ส่วนอุปกรณ์พื้นฐานสำหรับนัก Diy ผมคิดว่าคงพร้อมกันพอสมควรกันแล้วล่ะ แหม่รักจะเป็นนัก diy ก็คงจะเตรียมตัวกันพร้อมอยู่แล้วแม่นบ่อ..? .แต่ถ้า คนที่สนใจอยากจะทดลองทำโดยที่ไม่เคยแต่สนใจงานด้านบ้างล่ะต้องเตรียมอะไรบ้าง..? เอาล่ะทีนี้งานยาวครับลูกพี่คงได้สาธยายกันนานล่ะงานนี้ เอาเป็นว่าผมจะบอกเล่าคร่าว ๆ ละกันนะครับว่าจะต้องมีอะไรกันบ้างเครื่องมีอพื้นฐานที่ทุกท่านต้องมี...? ท่านที่ทราบกันดีอยู่แล้วก็ผ่าน ๆ นะครับสำหรับหัวข้อนี้ ด้วยว่าผมอยากจะให้วงการนี้มีคนเข้ามาลองเข้ามาเล่นเพิ่มจำนวนมากขึ้น........พวกเรานัก Diy จะได้มีเพื่อนในวงการเพิ่มอีกสักคนสองคนก็เป็นความโชคดีของวงการแล้วล่ะ.....หาพรรค หาพวก ว่างั้นเถอะ .55

1 หัวแร้ง..อันนี้จำเป็นมากสำหรับนัก Diy อิเล็กทรอนิกส์ แต่ผมจะแนะนำสักนิดนะครับในการเลือกซื้อหัวแร้ง ให้หาซื้อเอาแบบใส้ เซรามิค จะดีมาก ทั้งแบบปืน และแบบ ด้ามตรง หัวก็หาแบบที่ชุบดีบุกสีเงินวาว จะได้ส่งผ่านความร้อนได้เร็วบัดกรีง่ายตะกั่วละลายใสแวววาว ทำให้ชิ้นงานดูดี และที่สำคัญวงจรที่มีปัญหาส่วนหนึ่งมาจากตะกั่วจับกันเป็นก้อนเหมือนเชื่อมติดแล้วแต่จริง ๆ มันไม่ติดนะครับ กว่าจะหาเจอนี่เล่นเอามือใหม่ตาเหลือกได้เหมือนกันครับ

2 มัลติมิเตอร์ครับผม อันนี้ไม่มีไม่ได้ ควรมีไว้ทั้งแบบเข็ม และแบบดิจิตอล มีหลากหลายยี่ห้อให้เลือกซื้อเลือกหานะครับแบบเข็มนี่ เท่าที่เห็นเพื่อน ๆ นัก อิเล็กทรอนิกส์ใช้กันส่วนมาก จะเป็นยี่ห้อง Sanwa สกดด้วยตัว A นะครับถ้าสกดด้วย ตัว U อันนี้รับรองได้ว่าของปลอมเลียนแบบ ส่วนอีกยี่ห้อหนึ่งที่น่าสนใจเห็นจะเป็น ยี่ห้อ Kyoritsu ส่วนแบบติจิตอลก็มีให้เลือกมากมายก่ายกองที่น่าสนใจสำหรับมือใหม่นักเริ่มต้นอย่างผมเห็นจะเป็นของ จีนแดงน่ะครับมีขายที่ อมร เลือกได้ตามสดวกเลยครับ แต่ถ้าเป็นมือใหม่แต่เงินหนาอันนี้ไม่ว่ากันที่จะเริ่มกันที่ยี่ห้อ fluke

3 คีมตัดขาอุปกรณ์ ที่ดูดตะกั่ว ไขควงแฉก และไขควงแบน มีหลากหลายยี่ห้อหลากหลายราคาจนเรามึนงงแน่ครับแต่ก็แนะนำคร่าว ๆ ว่าที่ดูดตะกั่ว ยี่ห้อที่ช่างระดับมืออาชีพเขาใช้กันส่วนใหญ่ก็จะเป็นยี่ห้อ Hakko หรือ goot ยี่ห้อหลังนี่รวมทั้งคีมตัดขาอุปกรณ์ด้วยนะครับคุณภาพก็ดีใช้ได้เลยเชียวล่ะ


ไป ๆ มา ๆ หมดหน้ากระดาษอี๊กแหล่ว...ยังไม่ไปถึงไหนกันเลย power amp First watt F5 diy ของฉ้านนน...รออ่านต่ออีกละกันครับอ่านหนัก ๆ ทีเดียวจนหมด เดี๋ยวมึนงงสับสนทั้งคนเขียนทั้งคนอ่าน เอ๋อ ๆ ..กันพอดี 55 เอาเป็นว่าวันนี้พอแค่นี้กันก่อนนะครับอย่าพึ่งเบื่อกันล่ะ
อ่านต่อตอนที่ 4 คลิ๊กตรงนี้ครับ

Diy audio F5 amp ใคร ๆ ก็สร้างได้ ตอน 2



ที่มา จาตรงนี้ครับ

อย่างที่เกริ่นเอาไว้นะครับว่า power amp First watt F5 เครื่องนี้หลายท่านเคยได้สร้างไปบ้างแล้ว งบประมาณก็ตามแต่กำลังทรัพย์ แต่ว่าตัวที่ผมทำนี่ ราคารวม ๆ แล้ว ไม่เกิน 3000 บาทไทย ครับใช่ครับไม่เกิน 3000 บาท จริง ๆ แต่ว่าอุปกรณ์ที่ใช้ ก็ บ้าน ๆ หาได้ทั่วไป ส่วนใหญ่ อุปสรรค์ของแอมป์ตัวนี้คืออุปกรณ์ที่หายากครับ โดยเฉพาะ jfet 2sj 108 / 2sk 370 และ ztx 550 ztx 450
Photobucket
ทรานซีสเตอร์สองเบอร์นี้มีเบอร์แทนครับไม่ใช่ปัญหาเท่าไหร่ เป็นเบอร์ bc 550 bc 560 หรือ bc 546 bc 556 ส่วน 2sj 108 นี่พอหาได้ครับเบอร์ตรง ๆ เลย ที่ร้านโชคชัย หรือ สหพิพัฒน์ ซึ่งก็รวมถึง irfp 240 irfp 9240 ด้วยครับ ราคาก็ถูกกว่าทุกร้านในบ้านหม้อซึ่งก็รวมถึงที่ขายกันในเน็ตด้วยครับ เพียงแต่ว่าตัวเจ้าปัญหา 2sk 370 นั่นหาไม่มีครับ แทบทุกร้านในบ้านหม้อ

แต่ อย่าเพิ่งถอดใจไปครับมีเบอร์ที่ใช้แทนกันได้ ร้านในบ้านหม้อสแควร์ 2 มีขายครับ เป็นร้านที่ขายหลอด ไอซี รีซีสเตอร์ ตรงบรรไดทางขึ้น ชั้น 2 ที่จะขึ้นไปร้านขายลำโพงเก่านั้นล่ะครับมีขายแน่นอน หรือ รีซีสเตอร์ยี่ห้อ dale ด้วยน่ะครับสำหรับท่านที่เน้น ๆ ในวงจรสำคัญ ก็ตามกำลังศรัทธาท่านครับนี่แค่คร่าวๆ อ้อพูดถึง รีซีสเตอร์ มีร้านหนึ่งที่มีแบบ เมทัล ( เพราะในเครื่องจริงเขาใช้แบบนี้ ) ชื่อว่าร้านไพศาล อยู่ ถัดจากร้านนัฐพงษ์น่ะครับ รับรองไม่ผิดหวัง ผมก็ไปคุ้ย ๆ เขี่ย ๆ หาในร้านนั้นล่ะครับ เกือบครบทุกตัวในวงจร ราคาก็พอรับได้ เห็นไหมครับได้อุปกรณ์มาแล้วเกือบครบเต็มวงจร
f 5 poweramp

ยังเหลือที่เป็นของ ไฮไลท์ราคาแพงที่สุดของเครื่องนี้นั่นก็คือหม้อแปลง หม้อแปลงนี่ ท่านต้องสั่งเอาเองแล้วล่ะครับซึ่งก็มีหลายร้านที่รับพันหม้อแปลง ไม่ว่าจะเป็นร้านแสงทอง ร้านทรอน หรือร้านอื่นๆ ที่ท่านรู้จัก จะสั่งแบบ อีไอ เทอรอยด์ หรือ ซีคอร์ ก็น่าสนไม่น้อย โดยราคาก็ขึ้นกับขนาดแรงดัน และกระแส ในที่นี้วงจรนี้ ต้องการ ประมาณ 18-0 18-0 /ขนาดกระแสไม่ควรต่ำกว่า ขดละ 5 แอมป์ หรือสูงกว่ายิ่งดีราคาก็คาดว่า ประมาณ 1000 ต้น ๆ ไปจนถึงเกือบ ๆ 2000 Photobucket

แล้วแต่ขนาดกระแส.......อ้อควรสั่งพันเผื่อเอาไว้สักขดสำหรับเอาไว้ ติดพัดลม หรือวงจรป้องกันลำโพงก็ได้นะครับเอาสัก 12-0-12 / 1 amp ก็จะดีไม่น้อยทีเดียวด้วยว่าวงจรเป็นแบบ คลาสเอ ร้อนกระฉูดอันนี้แน่นอนรับรองได้ ส่วนคาปาซิเตอร์ในวงจร ฟิลเตอร์นั้น ให้ใช้ค่าความจุสูง ๆ เข้าไว้ ความจุรวม ๆ ได้ขนาด 100,000 ไมโครฟารัด ขนาด 35 v ขึ้นไป ก็จะดีเยี่ยมไม่น้อย จะซื้อตัวใหญ่ความจุสูง ๆ หรือตัวเล็กความจุน้อย ๆ แบบ Low Esr หลาย ๆ ตัวนำมาขนานกัน ก็สุดแท้แต่จะถนัดเพราะความจุขนาดนี้ เฉพาะคาปาซิเตอร์ ก็ร่วม ๆ 1000 ครับ

ยังเหลืออีกอย่างที่ราคาแพง นั่นก็คือ ซิ้งค์ระบายความร้อนครับ ตัวนี้ผมนอนกลัดกลุ้มคิดไม่ตกขบไม่แตกอยู่ตั้งนาน สองนานว่าจะทำดีหรือไม่ ถ้าทำก็ต้องเตรียมงบสำหรับ ซิ้งค์ ไม่ต่ำกว่า 2000 เป็นแน่แท้ไหนจะกล่องอีก ทำไมต้องใช้ซิ้งค์แพง ๆ ใหญ่โตมโหราฬขนาดนั้น power amp First watt F5 มันเป็นคลาสเอไงครับต้องใช้ซิ้งค์อลูมิเนียมระบายความร้อนขนาดใหญ่ ๆ ถึงจะเอาอยู่ หรือไม่ก็เป็นซิ้งค์ท่อติดพัดลมล่ะก็เข้าท่าไม่หยอก แต่ราคาก็ยังแพงอยู่ดี......เป็นตัวชี้เป็นชี้ตายเลยน่ะนี่สำหรับซิ้งค์วงจรนี้

แล้วทำไมผมถึงทำเครื่องนี้ได้ในราคาที่ต่ำ..? นั่นสิ..? ผมหมกหมุ่นครุ่นคิดอยู่ตั้งนานสองนานว่าพอจะมีวิธีไหนบ้างที่จะจัดการกับตัวการเจ้าปัญหาราคาเหี้ยมโหดตัวนี้ พอดีมีอยู่วันหนึ่ง รถกำลังติดไฟแดงระหว่างรอว่าเมื่อไหร่ไฟจะเขียว สายตาก็มองโน่นนี่ไปเรื่อยเปื่อยระคนครุ่นคิดเรื่องซิ้งค์แบบสลัดไม่หลุด ทันไดก็ไปปิ๊งล้อแม็กรถเข้าอย่างจัง เอ่อ..มันก็เป็นอลูมิเนียมอย่างดีเลยนี่หว่า....เจ๋ง...ไม่มัวรอช้ารีบห้อตะบึงไปคุ้ยตามร้าน รับ ซื้อของเก่า ก็ได้ในราคาที่สุดแสนจะประหยัด กิโลละ 70 บาท หนักประมาณ 8 กิโล รวม ๆ แล้ว 500 กว่า ๆ บ๊ะ...เข้าท่าเว้ยเฮ้ย...ผมร้องดังๆ ในใจ 55..........ก็เป็นอันเสร็จสรรพสำหรับการตระเตรียมอุปกรณ์สำหรับโครงการนี้วันนี้เห็นทีจะต้องพอแค่นี้ก่อนแล้วจะมาเล่าประสพการณ์ในการทำให้ฟังอีกว่ามีอะไรตื่นเต้นตูมตามควันโขมงคละคลุ้งบ้างหรือเปล่า..? เอาเป็นว่าโครงการ power amp First watt F5 diy วันนี้แค่นี้ก่อนอย่าลืมติดตามตอนต่อไปนะครับ
อ่านต่อตอนที่ 3 คลิ๊กที่นี่

วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2553

diy audio F5 amp ใคร ๆ ก็สร้างได้ ตอน 1



สวัสดีทุกท่านที่ เผลอคลิ๊ก ไม่ได้ตั้งใจคลิ๊ก หรือตั้งใจคลิ๊กเข้ามาอ่าน บทความดี ๆ มีสาระแกมบ้าบอเฮฮาบ้างตรึงเครียดบ้าง เริ่มต้นบทความประเดิมบล๊อกใหม่เอี่ยมอ่องกับ มือใหม่หัดเขียนสด ๆ ซิง ๆ ตัวเป็น ๆ มันยากน่าดูที่จู่ ๆ มาทำอะไรที่ไม่เคยทำและไม่ค่อยถนัดมาก่อนไม่รู้จะเริ่มยังไง โดยเฉพาะเป็นบทความที่เป็นสาระ กิจจะลักษณะ อุจจาระ และปัสวะ เริ่มต้นชักจะเละ 55


เอาล่ะมาว่ากันถึงเรื่องที่จะเล่าจะเขียนในวันนี้กันก่อน ว่าด้วยเรื่องของการ Diy audio ที่ซึ่งจะนำประสพการณ์มาบอกเล่าให้ท่านฟัง มีสาระบ้างไร้สาระบ้าง ก็เอาเป็นว่าตามแบบตามสไตล์ของผมละกันนะครับ มีเพื่อน ๆ ทัก แน่ใจเร้อออ คนเขียนเกี่ยกับเรื่องนี้ ก็มีกันตั้งมากมายก่ายกองลูกตาเป็นกอบ...เออ..นั่นสิเนาะ 55 มันก็ใช่..คืองี้ครับนัก Diy audioนั้นมีมากมาย หลายแบบ หลายประเภท หลายระดับ (ความรู้) ซึ่งก็มีตั้งแต่ ระดับอนุบาลหัดคลานอ้อแอ้ ดูดนมแม่ นมขวด ยันโน่นเลยวิศวะ ด็อกเตอร์ นั่นเทียว รวมทั้งด้านกำลังปัจจัยหนุนหลังด้วย


เอาล่ะผมจะไม่ขอบอกกล่าวเล่าความล้วง จก ลงลึกในระดับนั้น แต่จะขอประทานอภัยบอกเล่าเอาเฉพาะส่วนในระดับ ครึ่ง ๆ กลาง ๆ ค่อนมาทางต่ำ – เอี่ยวพอกะเทิน อย่างผมนี่ล่ะถึงจะพอเข้าถึงความต้องการ ปัญหา และอุปสรรค์ที่พานพบอย่างถ่องแท้ 55 เริ่มกันเลยดีกว่าโม้น้ำลายแตกฟองซะมากแล้ว Diy audio มันมีหลายอย่างนะ ไม่ว่าจะเป็น Cd Dac Preamp power amp ลำโพง สายไฟ สายสัญญาน ฯลฯ จิปาฐะ ทั้งแบบ Pa - Home use เอาเป็นว่ากระผมจะขอเล่าประสพการณ์เรื่องราวเป็นอย่าง ๆ ไปจนกว่าชีวิตนี้จะหาไม่แล้วนั้นล่ะ 55


F 5 amp คือเรื่องแรกที่กระผมจะขอแชร์ประสพการณ์ในการสร้างก็แล้วกันนะครับในวันนี้ เรื่อง Power amp นัก Diy หลายท่านคงเคยได้ลงไม้ลงมือกันมาบ้างแล้วไม่มากก็น้อยหรือ ไม่เคยเลยแม้แต่จะจับหัวแร้ง...แต่มีความสนใจและรอโอกาสดีๆ วงจรดี ๆ ต้องเคยผ่านหูผ่านตามาบ้างแล้วล่ะ ไม่ว่าจะเป็น แอมป์บ้าน แอมป์รถ แอมป์หูฟัง ฯลฯ ทั้งแบบชนิดที่เป็น ic transistor mosfet หรือแม้กระทั้ง tube amp ที่กำลังได้รับความนิยมและเป็นที่ปราถนาไฝ่ฝัน ว่าสักวันคงได้มีโอกาสได้ครอบครองสักเครื่อง โดยเฉพาะเครื่องที่เราทำคลอดเองกับมือ


ไม่เถียงว่ามีขายสำเร็จรูปอยู่แล้วจะมัวนั่งหลังขดหลังแข็ง ตระเวนหาอะไหล่อุปกรณ์ ให้เมื่อยตุ้มทำไมฟะ....ผมเรียนตรงนี้เลยครับว่างานด้าน Diy audio มันมีเสนห์ของมันนะครับพี่น้อง ทำเองมันได้ดั่งใจเรา เรียกว่าอยากได้เสียงแบบไหนกันล่ะ หวานชุ่มฉ่ำ แน่นกระชับจะแจ้ง อวบอิ่มกลมกล่อมละมุนละไม พริ้วไหวระยิบระยับ ฯลฯ เรียกได้ว่าเรามีโอกาสที่จะได้เข้าใกล้กับความต้องการเหล่านั้นด้วยน้ำมือของเราเองว่างั้นเถอะ อย่าลืมนะครับว่าแอมป์ในระดับ Hi – end ราคาไม่ได้เป็นญาติมิตรกับเราเลยหนา หลักแสนขึ้นนะครับขอบอก....


ในที่นี้กระผมจะขอกล่าวถึง F5 Mosfet amp class a ซึ่งเป็นวงจรอันเลื่องชื่อของกระทาชายนาย Nalson pass ได้ออกแบบเอาไว้ให้นัก diy ทั่วทุกมุมโลกได้สัมผัสลิ้มลอง ในวงการเครื่องเสียง ในวงการ Diy ใครไม่รู้จักชือท่านนี้รับรองได้ว่าตกยุก ตัวกระผมเองรอมรับและศัทธาท่านศาสดา Nalson pass เสียเป็นอย่างยิ่งนัก ด้วยว่าแนวทางในการออกแบบของท่านนั้น สุดแสนจะเรียบง่าย แต่คงไว้ซึ่งความบริสุทธิ์ผุดผ่องของสัญญานเท่าที่จะทำได้ วิธีแห่งความเรียบง่ายพอเพียงนี่แหละครับ เป็นที่มาแห่งความชอบโดยส่วนตนของกระผมเอง แต่เครื่องสำเร็จรูปราคาไม่ได้พอเพียงนะครับ 55 อยากได้ครอบครองในราคาที่ย่อมเยาว์ก็ต้องออกแรงกันหน่อย ไม่ได้หมายถึงว่าจะได้น้ำเสียงที่ได้เทียบเท่าของสำเร็จรูปของท่าน Nalson ได้บรรจงรังสรรค์เขาไว้ขายนะครับ แต่ผมหมายถึงว่าเราทำได้แค่ได้แนวทางได้บุคลิกลักษณะแนวเสียง ตามเจตณาที่ท่านได้ออกแบบวงจรเอาไว้เท่านั้นเอง เครื่องสำเร็จราคาหลักแสน เรา diy เอง หลักไม่เกินหมื่น ของกระผมนี่ ไม่เกิน 3000 บาทไทยครับพี่น้อง ..! อย่างที่บอกวงจรที่ท่านออกแบบเอาไว้ สุดแสนจะเรียบง่าย ทางเดินสัญญานสั้น อุปกรณ์น้อยชิ้นแบบนับตัวได้ ไม่มี C คั่นในทางเดินสัญญาณดังนั้นไม่ต้องกังวลว่าต้องไปเสาะแสวงหา C ราคาแพง ๆ มาใส่ ดูกันเลยครับวงจรคร่าว ๆ


อย่างที่กระผมเรียนให้ทราบกันตั้งแต่แรกเริ่มแล้วนะครับว่าตัวกระผมเองเป็นนัก diy ที่ไม่ได้เก่งกาจหูทองแต่ประการใดแค่ อ่านวงจรออกนิดหน่อย งู ๆ ปลา ๆ ครึ่ง ๆ กลาง ๆ พอกะเทิน ประมาณรายได้ต่ำ ความรู้ต่ำ แต่รสนิยมสูง ว่างั้น 55 แต่ก็ปรารถนาอยากได้มาครอบครองสักเครื่องก็ต้องลงไม้ลงมือกันเอาเอง ส่วนเสียงจะดีใกล้เคียงของแท้สำเร็จรูปนี่ผมเห็นทีจะไม่รับประกันนะครับ เพราะมันขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เริ่มกันตั้งแต่เกรดอุปกรณ์ การจัดวางตำแหน่งอุปกรณ์ให้มีผลน้อยในด้านสัญญานรบกวน ความพิถีพิถันในการทำของแต่ละท่าน


อุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น หม้อแปลง ไดโอด คาปาซิเตอร์ รีซีสเตอร์ ทรานซีสเตอร์ เจเฟท เพาเวอร์มอสเฟท หรือแม้กระทั่งการออกแบบแผ่นปริ้นลายวงจร มันมีผลกับเสียงที่ได้ทั้งนั้นล่ะครับ ผมไม่ได้หมายถึงว่าใช้อุปกรณ์ดีที่สุดแล้วจะได้เสียงที่ดีที่สุดนะครับ เรื่องเสียงนี่เสียงดีของแต่ละท่านย่อมไม่เหมือนกันแน่นอน แต่ที่แน่นอนที่สุดคือเราจะได้ความสุข ความภาพภูมิใจ ความมันส์สะใจ ได้เพื่อนที่ชื่นชอบในแนวทาง Diy ได้ความทุกข์ระทมใจเวลาวงจรที่เราทำมีปัญหา และที่แน่ ๆ ได้เสียตังส์ 555


ยังไม่ไปถึงไหนเลย เอาไว้เล่าต่อในวันพรุ่งนี้ละกันนะครับ

lang="TH">