วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2553
Diy ตอน ทำกราวด์กันเถอะ
Diy ตอน ทำกราวด์กันเถอะ
ทำทำไม ทำแบบไหน ทำเพื่ออะไร ..โห้...ถามกันเป็นชุด เอาล่ะท่านใจเย็น ๆ ผมจะขอเกริ่นว่าด้วยเรื่องของกราวด์กันก่อนแล้วกัน ปกติแล้วโดยส่วนใหญ่ ฟืนไฟบ้านเราระบบเก่า ๆ ผมว่ามันไม่ได้มาตรฐานเอาเสียเลย ผมว่าเกินกว่าครึ่งไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ คอนโด หรือบ้านสร้างเอง อันนี้ส่วนมากหมู่บ้านตามชนบทหรือต่างจังหวัด ไฟไม่มีกราวด์ ใช่ครับ ไม่มีกราวด์จริง ๆ ทั้ง ๆ ที่ระบบไฟบ้านเรามีขนาดแรงดัน AC 220 V แต่ไม่มีกราวด์ แต่ดูของต่างประเทศบางประเทศเขาสิแค่ 110 V แต่มีกราวด์ และยิ่งเรา ๆ ท่าน ๆ โดยส่วนมากไม่ค่อยจะสนให้ความสำคัญกันสักเท่าไหร่ทำไมผมพูดอย่างนั้น ก็ลองสังเกตุรอบรอบ ตัวเราสิครับ เครื่องใช้ไฟฟ้า ตู้เย็น เครื่องซักผ้า กระทะไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ เครื่องเสียงโฮมเธียเตอร์ยี่ห้อดัง และอะไรต่อมิอะไรเยอะแยะดี ๆ หรู ๆ แต่ใช้ปลั๊กไฟพ่วงแบบ ถูก ๆ ยิ่งเป็นปลั๊กเสียบขากลมของ ทีวี เครื่องเสียงบางยี่ห้อ อย่าหวังว่าจะเสียบได้แน่นให้กระแสไฟไหลได้สะดวก เสียบไม่แน่นก็ยังอุตส่าห์พยายามสูงโยก ๆ เบี่ยง ๆ หาเหลี่ยมให้มันติด เอากะเขาสิ 55
ถ้าเป็นอย่างที่ว่ามาก็บอกได้เลยโดยไม่ต้องลังเลว่าอันตรายนะจ๊ะ ขอเตือนด้วยความห่วงใย ไหนจะโดนไฟดูดจากไฟไม่มีกราวด์ ไหนอาจเกิดการสปาร์ค จากปลั๊กไฟหลวมจนเกิดความร้อนถึงขั้นลุกไหม้หากว่าบ้านอันแสนรักของเราเหลือแต่เถ้าถ่าน ก็เป็นอันไม่คุ้มด้วยประการทั้งปวงกับปลั๊กไฟราคาถูก ๆ อย่ากระนั้นเลยวันนี้ผมจะได้แนะนำวิธีการทำกราวด์เอาไว้ใช้ในบ้านเราดีกว่า ท่านไหนที่บ้านระบบไฟมีกราวด์สมบูรณ์อยู่แล้วก็ไม่ต้องนะครับ เริ่มเตรียมอุปกรณ์กันเลย
สายไฟแบบเข็งขนาดไม่ต่ำกว่าเบอร์ 4 ความยาวก็แล้วแต่ตามเหมาะสม กะระยะจากเมนหลักจนถึงจุดที่จะตอกหลักกราวด์ หรืออย่างของผมตามรูปนี้ห้องเป็นคอนโดเก่าฉะนั้นอย่าไปหวังว่าจะมีกราวด์มาให้ ผมก็หาจุดที่จะทำอยู่ตั้งนานแสนนาน จนลองเปิดฝ้าในห้องน้ำเห็นเหล็กเส้นเสร็มแรงคอนกรีตโผล่ออกมา นั่นล่ะครับกราวด์ชั้นดีของผมเลย 55 ในกรณีที่ไม่สามารถเดินสายกราวด์เข้าเมนหลักได้ ก็ให้เดินเข้าปลั๊กที่เป็นจุดสำคัญที่สุดนะครับ อย่างเช่น ชุด คอมพิวเตอร์ หรือชุดเครื่องเสียง และสำคัญที่สุด เครื่องทำน้ำอุ่นครับ แล้วก็จัดแจงสายก็ใช้กิ๊บตอกสายโทรศัพท์เก็บสายให้เป็นระเบียบ จุดที่สำคัญเราสามมารถทำปลั๊ก 3 จุดมีกราวด์ก็จะดีมาก ๆ นะครับ
ตัวปลั๊กจะให้ดีกำหนดเฟสไว้ก็จะดีไม่น้อย โดยใช้ไขควงเช็คไฟจิ้มเลยครับ โดยเฟสที่มีกระแสไฟเดิน เราเรียกว่า L ไฟในไขควงจะสว่าง ส่วนรูที่เหลือจิ้มแล้วไขควงต้องไม่มีไฟสว่าง อันนั้นเรียกว่า N อีกจุดที่เหลือเป็น กราวด์ ตามรูปตัวอย่าง รูที่มีไฟสังเกตุดี ๆ จะเป็นรูเล็กแคบ ส่วนรูฝั่งตรงข้ามซึ่งเป็นนิวตรอนรูปลั๊กจะกว้างกว่า ส่วนกราวก็จะอยู่ตรงกลาง นั่นล่ะครับ ใส่ให้ถูกต้องด้วยนะครับ
หลังจากที่เราจัดแจงนั่งทำหลังขดหลังแข็ง โยกโน่นย้ายนี่ตอกกิ๊บจนเมื่อยขบเหงื่อท่วมตัว เข้าสายเสร็จแล้วก็รับรองได้ว่าผลที่ได้คุ้มแสนคุ้มแน่นอนครับ สบายใจหายห่วง มีลูกมีหลานก็เบาใจลงเยอะ เคสคอมพิวเตอร์ที่เมื่อก่อนเคยดูดบ่อย ๆ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆที่มีตัวถังเป็นโลหะ มันไม่ดูดเราอีกแล้วล่ะครับเวลาเราจับต้องตรง ๆ หรือโดยไม่ตั้งใจ ส่วนเครื่องเสียงของเราก็ได้ผลบุญกะเขาด้วยนะ เอ่อ.. จะจับ ๆ หมุ่น ๆ โวลุ่ม หรือ บิดซีเล็กเตอร์ ไม่ไม่ดูดเราอีกแล้ว และเสียงที่ได้มีความนิ่งสงัดมั่นคง กระชับ มั่นอกมั่นใจกับความปลอดภัยที่เราได้เห็น ๆ โดยไม่ต้องพึ่งกับมาตรฐานอันบิดเบี้ยวของระบบไฟบ้านเราสมัยก่อน เอาล่ะครับวันนี้ก็มีเพียงเท่านี้ล่ะครับสำหรับบทความดี ๆ ลาแค่นี้ก่อนครับ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น