ครับเกริ่นเอาไว้ให้หวาดเสียว 55...เมื่อไม่นานมานี้ น้องเขยของผมโทรมาหาขอปรึกษาเรื่องซ่อม หม้อหน่อยเพราะรื้อออกมาแล้ว ซ่อมต่อไม่เป็นบอกว่าอย่างนั้น .....ไอ้กระผมก็นึกในใจ อะไรว้า อิแค่หม้อหุงข้าวมันก็ไม่ได้มีอะไรซับซ้อนเข้าใจยากนี่นา จะปรึกษาทำไมว้า...งั้นยกมาเลยเดี๋ยวซ่อมให้เอง นั่นล่ะครับจึงเป็นที่มาของเรื่องที่จะเขียนบอกเล่าประสพการณ์ให้ได้รู้ได้ฟังกันแบบ งู ๆ ปลา ๆ ในวันนี้ .
หลังจากได้เห็นหน้าค่าตา และฟังการบอกลักษณะคร่าว ๆ ตอนถอดออกมาดูข้างใจของน้องเขย ผมเองก็ยังไม่วายคิดเอาเองว่ามันจะมีอะไรนักหนาน้อ ก็แค่หม้อหุงข้าวหน้าตาทันสมัยมีหน้าจอ Digital เท่านั้นเอง
มันจะมีอะไรพิศดารพันลึกให้มากกว่านั้นเล่า ผมเอามาแงะดูข้างในถึงกับอึ้งทึ่ง...เออเว๊ยเฮ้ย อย่างนี้ก็มีด้วย จึงไปรบกวนอาจารย์กู ( เกิ้ล ) ถึงพอได้ทราบว่าเป็นแบบ Induction Heating Rice Cooking ซึ่งเป็นแบบเดียวกันกับ เตาแม่เหล็กไฟฟ้า อย่างที่เห็นขาย ๆ กันทั่ว ๆ ไปนั่นเอง อ้อ.. เป็นยี่ห้อ CUCKOO Induction Heating Rice Cooking ของเกาหลีแท้ ๆ เลยครับ
บ้านเราจริง ๆ นอกจาก เตาแม่เหล็กไฟฟ้า แล้ว ในรูปแบบหม้อหุงข้าวก็มีผู้ผลิตมาขายบ้างแล้วแต่ไม่กี่เจ้า หลัก ๆ ที่เห็นผ่านตานี่ก็จะมีของ Panasonic Rice Cooking ส่วนยี่ห้ออื่น ๆ อย่างเช่น Philips , Supor ,Hitachi ,Toshiba , Shapp , หรืออื่น ๆ ก็ไม่ค่อยเห็นจะมีก็แต่หน้าตาเหมือนเป็นแค่ Digital Cooking ที่เมนูการหน้าปัทม์บอกสถานะเป็นตัวเลขเท่านั้นครับแต่ เทคนิคการทำความร้อนนั้นเป็นแบบ ใส้ความร้อนที่เราคุ้นเคยเองครับ
แล้วไอ้เจ้า นี่มันยังไงล่ะ อืมมม...ผมก็ไม่เคยเห็นซะด้วยสิ งั้นมา มาดูด้วยกันเลยครับ หลังจากรื้อออกมาและพินิจพิเคาห์ดูอย่างละเอียดถ้วนถี่ มันต่างกันชัดเจนเลยนะครับ อันแรกนี่เห็น ๆ เลย ขดลวดครับ ครับขดลวดทองแดง สีแสงสุขปรั่งพันขดไว้รอบ ๆ ก้นหม้อโดยมีหลักการทำงานเท่าที่ค้นมาคร่าว ๆ อย่างนี้ครับ
หลักการทำงานของระบบ Induction Heating หรือระบบการเหนี่ยวนำทางไฟฟ้า หมายถึงวิธีการที่จะทำให้โลหะ (ชิ้นงาน) ที่ต้องการนั้นให้เกิดความร้อนโดยการไม่มีการสัมผัสกันทางด้านกายภาพ ระหว่างชิ้นส่วนตัวกำเนิดความร้อน กับ ชิ้นส่วนที่รับความร้อนหรือชิ้นงาน ซึ่งความร้อนที่เกิดขึ้นที่ชิ้นงานจะเป็นการอาศัยคุณสมบัติหรือหลักการทาง แม่เหล็กไฟฟ้าที่เรียกกันว่าการเหนี่ยวนำทางไฟฟ้านั่นเอง จากการที่ไม่มีส่วนสัมผัสกันทางด้านกายภาพระหว่างตัวกำเนิดความร้อนกับชิ้น งานนี่เองทำให้การให้ความร้อนแบบการเหนี่ยวนำทางไฟฟ้ามีผลดีหรือข้อดีที่แตก ต่างจากการให้ความร้อนในแบบอื่นๆดังต่อไปนี้
- สามารถให้ความร้อนได้อย่างรวดเร็ว ภายในระยะเวลาไม่ กี่วินาที
- ไม่ต้องมีการเตรียมงาน สามารถปิด/เปิด เครื่องใช้งานได้ทันที (ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาอุ่นหรือ Pre-heating จึงสามารถช่วย ประหยัดพลังงาน และเวลาลงได้)
- ไม่ก่อให้เกิด ควัน เขม่า หรือเปลวไฟ อันเนื่องมาจากไม่มีการเผาใหม้นั่นเอง จึงทำให้ช่วยลดอันตรายหรืออุบัติเหตุลงได้
- สามารถบังคับหรือ กำหนดทิศทางการให้ความร้อนให้อยู่ในระยะหรือขอบเขตเฉพาะที่ต้องการของชิ้นงานได้
- สามารถเคลื่อนย้ายตำแหน่งการติดตั้งใชังานได้โดยง่าย
- ไม่ก่อให้เกิดเสียงดังในขณะทำงาน
- ไม่ทำให้ชิ้นงานเสียหายอันเกิดจากการสัมผัส เพราะจะไม่การสัมผัสกันของชิ้นงานกับตัวให้ความร้อน
- ไม่มีอุปกรณ์สิ้นเปลือง ดังที่มีในระบบการให้ความร้อนแบบฮีตเตอร์, แก๊ส หรือน้ำมัน ทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
- *** ประหยัดพลังงาน และ ที่สำคัญที่สุดสำหรับยุคหรือกระแส ในตอนนี้ก็คือการประหยัดพลังงาน ระบบการให้ความร้อนในแบบการเหนี่ยวนำทางแม่เหล็กไฟฟ้านี้สามารถช่วยท่าน ประหยัดพลังงานลงได้มากกว่าที่ระบบการให้ความร้อนแบบเก่าที่ท่านใช้อยู่ใน ขณะนี้
ครับคือหลักการทำงานคร่าว ๆ ขอบคุณเวป http://www.fahrenheit.co.th/index.html สำหรับข้อมูล
เอาล่ะครับพอจะรู้หลักการทำงานคร่าว ๆ แล้วผมก็จะได้ทำการชัณสูตร ว่าแล้วก็เห็นคราบดำ ๆ นั่น เป็น ZNR ระเบิดเหลือแต่ขาขอรับ และในแผ่นวงจรเดียวกันนี้ ยังมี Fuse 10 Amp แบบหางหนูลงปริ๊นขาดกระจุย จนหลอดแก้วแตกร้าวมีคราวไหม้ประกายไฟสีดำเกาะอยู่ พลิกมาอีกด้าน เป็นอีกหนึ่งวงจร เข้าใจว่าในส่วนนี้เป็นวงจร ตั้งเวลา ตั้งเมนูในการหุง หรือเตรียมอาหารแบบต่าง ๆ ก็จะมองเห็น Capacitor หัวตุงน้ำยาอิเล็กโตรไหลเยิ้ม อยู่หนึ่งตัว ก็ทำการจิ้ม ๆ วัด ๆ อุปกรณ์ตัวอื่น ๆ อย่างคร่าว ๆ ก็ไม่มีอะไรผิดปกติ
เลยเปลี่ยนเฉพาะอุปกรณ์ตัวที่เสียเท่านั้นล่ะครับ เสร็จแล้วก็ทำการประกอบและทำการเทสทันทีโดยการเสียบปลั๊กไฟ ........บึ๊ม........ฮ่า ๆ อ่ะล้อเล่ง...ปกติครับแถมยังได้ยินเสียงสาว ๆ เกาหลีดังเจื้อยแจ้วออกมาก จากลำโพงข้างในหม้อ หล่อนพูดว่าอะไรมั่งนั้น กระผมก็จนด้วยเกล้าล่ะครับ ..55..เอาล่ะวะมาถึงตอนนี้ก็มั่นใจแล้วว่ามันใช้งานได้ จึงได้ทำการทดลองหาของหนัก ๆ ทับเซนเซอร์อุณภูมิ ที่เป็นสปริงตรงกลางหม้อนั่นล่ะครับ ด้วยคิดว่าคงจะเหมือนหม้อใส้ความร้อนปกติของบ้านเราล่ะมั้ง
ปรากฎว่ามันไม่ทำงานสิครับ เฉย..ไม่หือ ไม่อือ ไม่อุ่น ไม่ร้อนแต่ประการใด อันที่จริงมันต้องใช้หม้อชั้นในของมันที่เป็นโลหะที่แม่เหล็กสามารถดูดได้ครับ ระบบถึงจะครบวงจรและทำงานได้ ก็ตอนเขาเอามาให้ซ่อมนั้น เขายกแค่หม้อ กับหม้อแปลงไฟจาก 110 V เป็น 220 V และก็เพราะหม้อแปลงตัวนี้ล่ะครับที่เป็นสาเหตุของกลุ่มควันและกลิ่น แหม่ะ ก็พี่เขาเล่นเอาหม้อแปลง 110 V เป็น 220 V มาเสียบไฟบ้านเรา แล้วเสียบสายไฟหม้อหุงข้าวพ่วงเข้าหม้อแปลงขาออกด้วยน่ะสิครับ มันจะเหลือเร๊อะ
จริงๆ ไม่ต้องก็ได้ เสียบต่อปลั๊กไฟบ้านเราตรง ๆ เลยก็ได้ครับ เพราะสเป็คหม้อ มันก็รองรับไฟ 220 V อยู่แล้ว แต่ว่าเจ้าของหม้อเป็นชาวเกาหลีครับนำเข้ามา ราคาก็คงหลายพันอยู่หม้อชนิดนี้ และเขาบอกว่าถ้าใช้หม้อบ้านเราหุงข้าว ญี่ปุ่นเกาหลี มันไม่เหมาะ ต้องใช้หม้อชนิดนี้เท่านั้นเขาบอกมาอย่างนั้น ก็เอาเป็นว่าผมก็เอาไปเทสที่บ้านเขาโดยใส่ หม้อชั้นในแล้วใส่ข้าวให้เขาหุงเลยครับ ใช้ได้และใช้เวลาหุงแค่ไม่เกิน 20 นาที ก็สุกแล้ว ดีจริง ๆ
คิดค่าบริการเสร็จกลับบ้านมาพร้อมกับความรู้ใหม่ ๆ เกี่ยวกับหม้อหุงข้าวแล้วเอามาเขียนเล่าให้ฟังกันในวันนี้ล่ะครับแล้วพบกันใหม่ สวัสดีครับ...
nice blog, thanks for sharing :)
ตอบลบคร๊าบกระผม ความรู้ผมแค่หางอึ่งแต่อยากทะลึ่งแบ่งปัน...555
ตอบลบขอบคุณครับบ ผมซื้อมาแล้วพังเหมือนกันเลยย ขอบคุณที่ให้ความรู้ค้าบบ
ตอบลบขอบคุณครับ ยินดีแบ่งปันประสบการณ์ครบผม
ลบยอดเลยครับ ได้รู้อะไรมากมายเลย เจ๋งจริงๆครับ
ตอบลบรับทราบครับ ผมก็ฟลุ๊ก ๆ ที่หาเจอ นายฝรั่งเรียกผมเอ็นจิเนียร์ ผมนี่กระดากใจมากความรู้ผมไม่ขนาดนั้นครับ..
ลบ