วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Diy & Modify PA Amp ผ่าตัดใหญ่ยกใส้ สวมสิทธิ์ ตอนจบ

ในตอนที่แล้ว เป็นขั้นตอนกรรรมวิธีผ่าตัดใหญ่สลับหัวใจ เปลี่่ยนใส้ ย้ายพุง หากว่าเป็นรถก็ประมาณว่าเปลี่ยนยกเครื่องข้ามสายพันธ์กันเลยทีเดียวครับท่านผู้ชม  ส่วนจะให้บรรลุมรรคผลสนองตัณหาเพื่อประสงค์สิ่งใดนั้นก็สุดแท้แต่จุดมุ่งหมาย  Power Amp PA Music Sound เครื่องนี้แต่เดิมนั้นก็ไม่ได้ย่ำแย่ขี้ริ้วหรอกนะครับ  ยี่ห้อ  Music Sound  นั้นก็เป็นหนึ่งในยุทธจักรวงการเครื่องเสียง PA ชั้นดีของเมืองไทยมาช้านาน โดยเฉพาะ Power Amp PA เขาผลิตกันมาตั้งแต่กระโน้นเลย  สมัยเครื่องหลอด Tube Power Amp ยุคแรก ๆ กันเลยทีเดียวนะครับ

Photobucket

ไอ้กระผมที่มีความคิดอุตริเปลี่ยนยกเครื่องข้ามสายพันธ์นี่  นั่นก็เพราะสภาพการใช้งานในชนบทบ้านนอกบ้านนาในต่างจังหวัดนั้น  ถ้าเครื่องเป็นอะไรไปสักอย่างไม่ว่าหนักหรือเบา  จะเสาะหาอะไหล่มาซ่อมแซมทำยานั้นก็แสนเข็ญ แถมราคานั้นก็แพงไม่แพ้น้ำมันปาล์มในยุคนี้สมัยนี้ซะด้วยสิครับ   ก็ดูเอาเถิดครับในตอนที่แล้วนั้น แผ่นปริ๊นวงจรไหม้เกรียมเสียอย่างนั้น  แถมด้วย Power Transistor  or  Power mosfet พี่ทั่นเล่นลบเบอร์ออกซะเกลี้ยงตั๊บ  ถ้าจะให้ซ่อมคืนสภาพของเดิม ๆ บอกได้เลยว่าแทบเป็นไปไม่ได้


Photobucket

ก็ในเมื่อรถกระบะ Dmax ยังว่างเครื่อง 1- Jz ได้ก็แล้วทำไมเราจะเอา Drive Amp ที่มีขายกันเกลื่อนในท้องตลาดมายัดลงแทนของเดิมไม่ได้เล่าจริงมะ.......?  พูดก็พูดเถอะวงการอิเล็กทรอนิกส์สมัยนี้จะว่าไปก็ไม่ได้ลำบากลำบนยากเข็ญเหมือนเมื่อก่อนนะครับดูอย่าง Power Transistor 2sc 5200  2sa 1943  คู่แมทช์ยอดนิยมของ Toshiba  นั่นประไรมีขายกันให้เกลื่อนทั่วทุกหัวมุมซอย เทียบกับสเป็คและประสิทธิภาพแล้วแสนถูก  ผมเคยซื้อถูกสุดคู่ละ 50 บาทเท่านั้นเอง  ในเมื่อวัตถุดิบพร้อม เวลาพร้อม ทุนทรัพย์ไม่ค่อยพร้อม ( อิอิ ) ที่เหลือมันก็ยากแค่ เราตัดสินใจจะลงมือทำเท่านั้น

Photobucket

ชุด PCB Drive Power Amp ลงปริ๊นสำเร็จชุดนี้นั้นผมได้ซื้อหามาในราคาข้างละ 400 บาท ซึ่งราคาไม่รวม Power Transistor  Resistor Emiter  แบบกระเบื้องนะครับ ( ใส่ไว้เพื่อให้ Power Transistor มันแมทช์กัน ) ซึ่งอุปกรณ์ที่กล่ามานั้นขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการกำลังขับกี่วัตต์ ซึ่งวงจรไดร์ฟเมนแอมป์รุ่นนี้นนั้น  สกรีนบอกกำลังวัตต์เอาไว้ตั้งแต่ 280 - 2800 W  ซึ่งแรงดันไฟสำหรับใช้กับวงจรก็ตั้งแต่ 55 - 100 Vdc + - ขึ้นอยู่กับความต้องการกำลังวัตต์และทุนทรัพย์  วงจรก็ไม่มีอะไรให้ต้องยุ่งยากแค่เดินสายไฟ  + / - กราวด์ ให้ถูกต้องก็แค่นั้น  ไม่ปรับกระแสไบอัสให้วุ่นวาย  เป็นไง..ที่กล่าวมาหวังว่าคงง่ายพอที่จะถูกอกถูกใจมือใหม่อย่างเรา ๆ ท่าน ๆ นะครับ

เพาเวอร์ซัพพลายภาคจ่ายไฟของเดิมผมได้ทำการวัดตรวจเช็คดู  ไฟผ่านวงจรฟิลเตอร์แล้ววัดได้แค่ 53 Vdc + / - ซึ่งก็ต่ำกว่าความต้องการของวงจรใหม่อยู่ 2 V  ต่ำแค่นี้ไม่น่ามีปัญหาเครื่องทำงานได้อยู่แล้ว  เมื่อทุกอย่างดำเนินการมาถึงจุดหมายปลายทางแล้ว  จะชักช้าเยิ่นเย่ออยู่ใย  มาทำการทดสอบปรับแต่งในขั้นตอนต่อไปเลยครับ
ผมเสียบปลั๊กกดสวิทซ์เพาเวอร์ปล่อยไฟเข้าเครื่องทุกอย่างเงียบกริบ  กลิ่นไม่มี  ควันไม่โชย  ฟิวส์ไม่ขาดพัดลมระบายอากาศทำงานหมุนติ้ว  อึดใจต่อมาได้ยินเสียงรีเลย์จากวงจรโปรเทคชั่นทำงานดังแกร๊ก..! เบา ๆ หลอด  Led สีแดงจากวงจรโปรเทคชั่นส่องสว่างจ้า  คล้ายจะส่งซิกบอกเราเป็นนัยว่า  ซ้ายพร้อม  ขวาพร้อม  ไฟพร้อม  ทุกอย่างพร้อม   แล้วคุณล่ะ..พร้อมหรือยัง..?

2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่เข้า OCZ บ้างเลยครับ

    ตอบลบ
  2. เอ่อ...เนาะ ..อย่าว่าแต่ OCZ เลยครับช่วงนี้ เวปของกระผมเองยังไม่ค่อยได้เข้ามาอัพเดทเลยอ่า....ฮ่า ๆๆ...

    ครับกระผมเอาเป็นวากะเด๋วผมจะเข้าไปครับ หวังว่าคงได้สนุกกัน สั่งเครื่องดื่มมิกซ์เซอร์กับแกล้ม ไว้รอละกันครับ ..555

    ตอบลบ