วันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ไลท์สาระ เรื่องที่ไม่น่ารู้เกี่ยวกับจักรยาน



ทุกวิถีชีวิต  ทุกวงการ ทุกแขนงงาน สาขาอาชีพ  ทุกพฤติกรรม วัฒนธรรม ประเภณีอะไรต่าง ๆ หลากล้วนแต่มีคำศัพธ์ คำแสลงไว้เรียกขานเฉพาะ เจาะจง เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ อาจจะด้วยความชอบ ด้วยความรัก เกลียดโกรธ ด้วยประชด ประชันเย้ยหยัน ล้อเลียน เสียดสี หรือจะอะไรนั่นก็สุดแท้  จักรยานก็เฉกเช่นเดียวกันดังที่จะกล่าวอ้างในวันนี้.....

กระแสในบ้านเมืองเรา ณ.ตอนนี้นั้นปฏิเสธกันไม่ได้ครับ  เกี่ยวกับจักรยานที่กำลังรุ่งเรืองเฟื่องฟูอย่างสุดขีด อันเนื่องมาจากหลากหลายเหตุปัจจัยเกื้อหนุนเช่น เป็นพาหนะอันนี้สำหรับหลายท่านที่เบื่อค่านิยมและระบบคมนาคมที่ล้มเหลวของเมืองไทย  เป็นอุปกรณ์กีฬาฉันทนาการอันนี้ดีหน่อยผู้คนสมัยนี้รักสุขภาพรักสวยรักงามโดยเฉพาะสาวใสวัยรุ่นหลงใหลใผ่ฝันผิวขาวอมชมพูสำหรับสุภาพสตรี  แต่..เรื่องนี้คงไม่ใช่..55  เป็นเฟอร์นิเจอร์ประดับบารมีบ่องบอกสถาณะ ข้อนี้นั้นคงไม่ใช่สำหรับผมอย่างแน่นอน   แม้ว่าส่วนตัวแล้วอยากจะมีจักรยานที่มีเทคโนโลยี่วัสดุสุดล้ำยิ่งกว่าอากาศยาน  ชุดขับเคลื่อนและอะหลั่ยสุดหรู  น้ำหนักที่เบาหวิว แต่ราคาหลาย ๆ แสนถึงหลักล้านก็ตาม....ใครเบื่อ ๆ จะบริจากอุปกรณ์กีฬา (จักรยานคาร์บอน)แก่ผู้ยากไร้อย่างผมก็ขอเชิญนะครับ.....และยังมีเหตุผลหลายอย่างจิปาถะที่เป็นมูลเหตุแห่งความรุ่งเรืองของจักรยาน

เอาล่ะต่อไปนี้กระผมจะพาทุก ๆ ท่าน ที่อยากจะรู้และทั้งที่ไม่อยากจะสนใจใคร่รู้  ได้มาทำความรู้จักกับศัพธ์ต่าง ๆ ที่ผองเหล่ามวลมหาประชาจักรยานเขาเรียกขานอะหลั่ยชิ้นส่วนประกอบต่าง ๆ ของยวดยานพาหะนะชนิดนี้ในอีกมุมอีกด้านหนึ่งซึ่งไม่ค่อยจะมีใครมาบอกเล่าที่มาที่ไปกัน   เรื่องอื่น ๆ เกี่ยวกับจักรยานถ้าอยากจะศึกษาก็หาอ่านกันได้ไม่ยากทั้งเรื่องทฤษฏีทั้งเรื่องเทคนิก  ทั้งเรื่องข้อแนะนำ  วิเคราะห์วิจารณ์เปรียบเทียบแต่ละรุ่นแต่ละประเภทแต่ละยี่ห้อ  ทั้งเรื่องเกี่ยวข้องโดยตรงและไม่เกี่ยวข้องใด ๆ เลย ศึกษาหาอ่านกันได้ง่าย ๆ ทั่ว ๆไป จะเป็นเว็ปไซด์ หรือในหนังสือนิตยสารมีให้ศึกษาเรียนรู้อย่างครบครันแต่วันนี้ผมขอบอกเล่าพูดคุยเป็นกาลเฉพาะแง่หนึ่งมุมหนึ่งที่ไม่ค่อยจะมีใครกล่าวถึง  ซึ่งก็นับว่าเป็นโอกาสดีที่ผมจะได้นำเสนอ......เริ่มกันเลยครับพี่น้อง


ท่อตั้ง..?ห๊ะ..!! อะไรนะ..?มันคืออะไรตรงไหนอ่ะท่อตั้ง  ..? บางท่านได้ยินเขาพูดถึงกันพร้อม ๆ กับตั้งคำถามสวนกลับ   เคยเห็นเคยเป็นแต่ ..ท่อนตั้ง อ่า.. ซึ่งบางครั้งก็ตั้งบ้างล้มบ้าง แต่ส่วนใหญ่จะหนักไปทางล้มคอพับคออ่อน ไม่ค่อยตั้ง..( ฮา )  เอิ่ม... มันก็คือส่วนประกอบของเฟรมนั่นยังไงครับ  และเฟรมที่ว่านี้  ไม่ว่าจะเป็นเฟรมชนิดไหน  จะคาร์บอนเอย  มิเนียมเอย  ไม้เอย  ไทเทเนียเอย  โครโมลี่เอย   ส่วนใหญ่ต่างก็ล้วนมีท่อนตั้ง เอ๊ย..! ท่อตั้งด้วยกันทั้งนั้น โดยให้เราสังเกตุจากเบาะที่เรานั่งนั่นแหละ  จะมีท่อ ตรงแบบเฉียง ๆ เอียง ๆ เยื้องลงไปถึงกระโหลกนั่นละท่อตั้ง  หรือจะเรียกว่า ท่อนั่ง นั่นมิผิด  สรุปก็คือเรียกตามลักษณะในการใช้งานว่าอย่างนั้น........ก็หมดไปหายสงสัยไปหนึ่งรายการ..ฮ่า ๆ
  ท่อนั่ง photo E170E480E2D0E190E310E480E070_zpseadcd880.jpg

กระโหลก..?  มีด้วยเร๊อะ..? กระโหลกเนี่ยนะ..?   ใช่ครับทั่นครับนอกจาก  กระบาล  เอ๊ย..! กระโหลกของคนปั่นแล้วจักรยานเองก็มีกระโหลกด้วยนะเออ......ถึงแม้นว่าหน้าตาซึ่งดูแล้วเพ่งพินิจแล้ว  วิเคราะห์ไตร่ตรองอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว ยังไงยังไงก็ไม่เห็นว่าจะมีส่วนไหนมุมใดที่มีความละม้ายคล้ายคลึงกระโหลก  อัธถาธิบายพูดไปพูดมาพาลให้ปวดกระบาลทั้งคนพูด คนฟังเป็นอย่างยิ่ง  แล้วมันคืออัลลัยอยู่ตรงส่วนไหนกันฟระ..?  ..แหะ ๆ  ใจเย็น ๆ ครับขอกินพาราบรรเทาอาการปวดกระบาลแป๊ป  ...ก็ตรงนี้ไง  ตรงที่มันเป็นจุดศูนย์รวมของชิ้นส่วนหลัก ๆของเฟรม ไม่ว่าจะเป็น  ตะเกียบหลัง  ท่อนั่ง  ท่อล่าง  มาบรรจบกัน ณ . จุดจุดนี้เรียกว่ากระโหลกซึ่งในตัวของกระโหลกเอง

ก็จะมีลูกปืนรางลื่นอยู่ด้านในไว้ประคองแกนบันไดสำหรับออกแรงถีบปั่น  ซึ่งชุดแกนกระโหลกนั่นก็ก็จะมีทั้งแบบ เหลี่ยม แบบกลวง และขนาดแตกต่างกันตามแต่ผู้ผลิตเขาจะคิดค้นเอาไว้เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการลดความฝืดแรงต้านทั้งหลาย  อีกทั้งยังเป็นจุดศูนย์ถ่วงองศาของเฟรมแต่ละชนิด  แต่ละยี่ห้อของผู้ผลิตเขาจะออกแบบมาเพื่อประสิทธิภาพความเป็นเลิศด้านสมรรถนะ..........อ่ะ....ก็ในเมื่อลำใยยังมีกระโหลกทำไมจักรยานจะมีด้วยไม่ได้เล่า...จบไปอีกหนึ่งสำหรับกระโหลก  


กระโหลก..?  มีด้วยเร๊อะ..? กระโหลกเนี่ยนะ..?   ใช่ครับทั่นครับนอกจาก  กระบาล  เอ๊ย..! กระโหลกของคนปั่นแล้วจักรยานเองก็มีกระโหลกด้วยนะเออ......ถึงแม้นว่าหน้าตาซึ่งดูแล้วเพ่งพินิจแล้ว  วิเคราะห์ไตร่ตรองอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว ยังไงยังไงก็ไม่เห็นว่าจะมีส่วนไหนมุมใดที่มีความละม้ายคล้ายคลึงกระโหลก  อัธถาธิบายพูดไปพูดมาพาลให้ปวดกระบาลทั้งคนพูด คนฟังเป็นอย่างยิ่ง  แล้วมันคืออัลลัยอยู่ตรงส่วนไหนกันฟระ..?  ..แหะ ๆ  ใจเย็น ๆ ครับขอกินพาราบรรเทาอาการปวดกระบาลแป๊ป  ...ก็ตรงนี้ไง  ตรงที่มันเป็นจุดศูนย์รวมของชิ้นส่วนหลัก ๆของเฟรม ไม่ว่าจะเป็น  ตะเกียบหลัง  ท่อนั่ง  ท่อล่าง  มาบรรจบกัน ณ . จุดจุดนี้เรียกว่ากระโหลกซึ่งในตัวของกระโหลกเอง

ก็จะมีลูกปืนรางลื่นอยู่ด้านในไว้ประคองแกนบันไดสำหรับออกแรงถีบปั่น  ซึ่งชุดแกนกระโหลกนั่นก็ก็จะมีทั้งแบบ เหลี่ยม แบบกลวง และขนาดแตกต่างกันตามแต่ผู้ผลิตเขาจะคิดค้นเอาไว้เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการลดความฝืดแรงต้านทั้งหลาย  อีกทั้งยังเป็นจุดศูนย์ถ่วงองศาของเฟรมแต่ละชนิด  แต่ละยี่ห้อของผู้ผลิตเขาจะออกแบบมาเพื่อประสิทธิภาพความเป็นเลิศด้านสมรรถนะ..........อ่ะ....ก็ในเมื่อลำใยยังมีกระโหลกทำไมจักรยานจะมีด้วยไม่ได้เล่า...จบไปอีกหนึ่งสำหรับกระโหลก  
 กระโหลก photo E010E230E300E420E2B0E250E010_zps1e2cd520.jpg


ตีนผี..?  ....ง่ะ...! จักรยานที่เราขี่ ๆ ปั่น ๆ กันนี่นะมันมีตีนผีกันด้วยเร๊อะนี่..?   โว๊ะ..สงสัยมากเดียวโดน..ตรีนกรู..ซะดีมะเนี่ย..!!!...ฮ่า ๆ   หามิได้ครั่บ   อันตีนผีนี่มันสร้างความมึนงง  สับสน  ชวนพิศวง งวยงง  โคตรงึด..? สำหรับผมมาแล้วครับ  ก็ด้วยเพราะว่ามันมีมูลเหตุไหน แรงจูงใจอะไรหนอ ถึงได้พากันเรียกขานขนานนามกันว่า  ตีนผี   ....ผมเองก็พอจะรู้แล้วว่ามันอยู่ตรงไหนและทำหน้าที่อะไร  พินิจพิเคราะห์ไตร่ตรองถถ้วนถี่  กี่หนกี่ทียังมองไม่เห็นตรงไหนว่ามันเหมือน ตีนผี...หรือแม้กระทั้ง ตรีนกรูเอง  นั่นยิ่งไม่เหมือนเข้าไปใหญ่...(ฮา)
ครับตีนผีเองก็มีใช้กับจักรยานไม่กี่ชนิดไม่กี่ประเภทเท่านั้นนะครับ....จักรยานแม่บ้าน  บางรุ่นก็มีบางรุ่นก็ไม่มี BMX Fixgearนี่ตัดไปได้เลยเท่าที่นึกได้ไม่มีแน่นอน......เอาเป็นว่าเจ้าตีนผีที่ว่านี่ จะอยู่กับจักรยานที่มีระบบเกียร์เป็นส่วนประกอบหลัก..และถึงแม้นว่าจะเป็นส่วนประกอบหนึ่งของระบบเกียร์ก็ขอยกเว้นเอาไว้สำหรับเกียร์ดุมนะครับ  ซึ่งเกียร์ดุมชนิดนี้นั้น ไม่มีตีนผีนะขอรับ.......ทีนี้มาว่ากันว่ามันสิงสถิตย์อยู่ ณ.ตรงส่วนใดบริเวณไหนในจักรยานของเรา  เห็นล้อหลังจักรยานของเราไหมครับ    อ่า...น่านล่ะเห็นแล้ว  และ ดุมล้อล่ะเห็นไม๊..?  อ่า...เห็น  แล้วเฟืองล่ะเฟืองหรือ ที่เรียก ๆ กันว่าสเตอร์นั่นแหละเห็นมะ.......อ่า..เห็น เห็นเหมือนกัน...เอ้อเก่ง..ปรบมือปรบมือ..
ทีนี้ลองสังเกตุเพ่งพินิจดูหน่อยสิว่าข้าง ๆ สเตอร์อยู่ด้านนอกที่ยึดโยงและมีโซ่ห้อยต่องแต่ง  น่านล่ะครับที่ผู้คนเรียกขานกันว่าตีนผีล่ะ...... เห็นรึยังล่ะเหมือนไหมเล่าตีนผีอลเวงพิศวงนั่นน่ะ..? ฮ่า ๆ ...ครับในตัวตีนผีเองก็จะมีสปริงและลูกรอกประคองโซ่ให้ตึงกำลังดี อยู่ 2 ลูกด้วยกัน คอยสับเปลี่ยนเฟืองเกียร์ตามสั่งตามจังหวะการดึงสายสลิงให้เหมาะสมตามสถานการของผู้ขับขี่นั่นคือประโยชน์หน้าที่หลัก ๆ ของ ตีนผีเขาล่ะ ...เมื่อก่อนผมเองได้ยินมาแต่ยังไม่รู้  แรกเริ่มเดิมทียังพาลเข้าใจคิดว่าการปั่นจักรยานให้มีประสิทธิภาพนั้นมันเป็นเรื่องหนักหนาสาหัสอยู่แล้ว   และจะดีไม่น้อยถ้าได้ตีนอีกสักตีนสองตีนมาช่วยถีบส่ง  ถึงแม้มันจะเป็นแค่ตีนผีก็ตาม.....                ......ตีนผี
  ตีนผี photo E150E350E190E1C0E350_zps81659b0b.jpg

สับถัง..?  สับคอ  ชิฟเตอร์.......ตามแต่จะเรียกให้มึนงงพิลึกพิลั่น  คนนอกวงการ คนฟังเมามึน และยิ่งงวยงงสับสนเท่าไหร่ก็ยิ่งดูดีมีมูลค่าแก่ผู้รู้  จะได้อัธถาธิบายให้คนไม่รู้ได้เข้าใจอย่างภาคภูมิเป็นเกียรติประวัติ...55
สับทำไม..? สับเพราะอะไร..? เพื่ออะไร..? สับตอนไหน..?และใครบ้างที่ต้องสับ..?  555...ทั่นผู้ชมทั่นผู้ฟังที่เคารพครับผมขอชี้แจงตรงนี้เลยว่าในหัวข้อนี้ผมกำลังเร่งรีบกระตือรือล้นที่จะคลายความสงสัยของทุกคนทุกท่านเป็นการด่วนก่อนที่กระผมเองจะถูกสับด้วยปังตออรัญญิก  ด้วยความโมโหเหลืออดจากน้ำมือของทั่นผู้ชมเอง..55  ..คืองี้ครับ  สมัยโบราณการณ์ยุคเรอร์เนอร์ซองค์..เย๊ย..ไม่ใช่สิ..ยุคสมัยเฟรมท่อเหล็กกล้า ท่อเหล็กโครโมรี่ ครั้งกระโน้นนั้น  จักรยานเพื่อการแข่งขันหรือจำหน่ายเรื่มจะมีเกียร์ใช้กันแล้วนะครับหลายทั่นรู้รายละเอียดได้ดีกว่าผม   และคันเกียร์สำหรับโยกหาแต่ละเกียร์ให้เหมาะตามสถาณการณ์นั้น   ก็ติดตั้งเอาไว้ตรงท่อล่าง เยื้อง ๆ มาทางถ้วยคอ  เหนือขากกระติกน้ำนั่นแลครับทั่น

โดยคันเกียร์ขนาดพอเหมาะแอ่นโค้งรับนิ้วมือเล็กน้อยที่ว่านี้จะติดตั้งเอาไว้ทั้งสองฝากฝั่งของเฟรมท่อล่าง   ในตำแหน่งที่คิดว่านักขับขี่จะถนัดในการใช้งานปรับเปลี่ยน และเป็นไปอย่างฉับไวแม่นยำและมีประสิทธิภาพสูงสุดนั่นเอง  โดยฝั่งซ้ายของมือเราขณะคร่อมอยู่นั้น เอาไว้โยกออกคำสั่งไปสั่งสับจาน..?  ฝั่งขวามือนั้นเอาไว้โยกสำหรับสับเปลี่ยนเกียร์เปลี่ยนเฟืองก็ว่ากันไป...แต่สิริรวมแล้ว    คันเกียร์ที่ว่านี้ติดตั้งเอาไว้กับตัวถังหรือเฟรมท่อล่างใกล้ ๆ ถ้วยคอเลยเรียกกันติดขานแบบเทห์ ๆ ตามพฤติกรรมการใช้งานเอาซะเลยว่า   สับถัง...ขอรับทั่นผู้ชม….ทีนี้เข้าใจละนะตะเอง..55


สับถัง..?  สับคอ  ชิฟเตอร์.......ตามแต่จะเรียกให้มึนงงพิลึกพิลั่น  คนนอกวงการ คนฟังเมามึน และยิ่งงวยงงสับสนเท่าไหร่ก็ยิ่งดูดีมีมูลค่าแก่ผู้รู้  จะได้อัธถาธิบายให้คนไม่รู้ได้เข้าใจอย่างภาคภูมิเป็นเกียรติประวัติ...55
สับทำไม..? สับเพราะอะไร..? เพื่ออะไร..? สับตอนไหน..?และใครบ้างที่ต้องสับ..?  555...ทั่นผู้ชมทั่นผู้ฟังที่เคารพครับผมขอชี้แจงตรงนี้เลยว่าในหัวข้อนี้ผมกำลังเร่งรีบกระตือรือล้นที่จะคลายความสงสัยของทุกคนทุกท่านเป็นการด่วนก่อนที่กระผมเองจะถูกสับด้วยปังตออรัญญิก  ด้วยความโมโหเหลืออดจากน้ำมือของทั่นผู้ชมเอง..55  ..คืองี้ครับ  สมัยโบราณการณ์ยุคเรอร์เนอร์ซองค์..เย๊ย..ไม่ใช่สิ..ยุคสมัยเฟรมท่อเหล็กกล้า ท่อเหล็กโครโมรี่ ครั้งกระโน้นนั้น  จักรยานเพื่อการแข่งขันหรือจำหน่ายเรื่มจะมีเกียร์ใช้กันแล้วนะครับหลายทั่นรู้รายละเอียดได้ดีกว่าผม   และคันเกียร์สำหรับโยกหาแต่ละเกียร์ให้เหมาะตามสถาณการณ์นั้น   ก็ติดตั้งเอาไว้ตรงท่อล่าง เยื้อง ๆ มาทางถ้วยคอ  เหนือขากกระติกน้ำนั่นแลครับทั่น

โดยคันเกียร์ขนาดพอเหมาะแอ่นโค้งรับนิ้วมือเล็กน้อยที่ว่านี้จะติดตั้งเอาไว้ทั้งสองฝากฝั่งของเฟรมท่อล่าง   ในตำแหน่งที่คิดว่านักขับขี่จะถนัดในการใช้งานปรับเปลี่ยน และเป็นไปอย่างฉับไวแม่นยำและมีประสิทธิภาพสูงสุดนั่นเอง  โดยฝั่งซ้ายของมือเราขณะคร่อมอยู่นั้น เอาไว้โยกออกคำสั่งไปสั่งสับจาน..?  ฝั่งขวามือนั้นเอาไว้โยกสำหรับสับเปลี่ยนเกียร์เปลี่ยนเฟืองก็ว่ากันไป...แต่สิริรวมแล้ว    คันเกียร์ที่ว่านี้ติดตั้งเอาไว้กับตัวถังหรือเฟรมท่อล่างใกล้ ๆ ถ้วยคอเลยเรียกกันติดขานแบบเทห์ ๆ ตามพฤติกรรมการใช้งานเอาซะเลยว่า   สับถัง...ขอรับทั่นผู้ชม….ทีนี้เข้าใจละนะตะเอง..55
 สับถัง photo E2A0E310E1A0E160E310E070_zps80384fa9.jpg

 

สับจาน..?นี่งัย..นี่งัยอ่า..?   ตะกี้สับถัง  มาตอนนี้สับจาน  เออเว้ยเฮ้ย..!  นี่มันจักรยานนะเว้ยเฮ้ย   ไม่ใช่รายการทำอาหารจะได้หั่น ๆ ซอย ๆ โขก ๆ สับ ๆโขก ๆ ปั่น ๆ ..   แหะ ๆ..ใจเย็น ๆ ครับคุณชาคริตครับ  วงการ ลูกน้องกะนายจ้างนี่ก็ใช้กันได้นะคร้าบโขก ๆ สับ ๆ เนี่ย..  ว่าแต่มันอยู่ตรงไหนทำหน้าที่อะไรบ้างล่ะไอ้สับจานนี่น่ะ   สับปลาสับเนื้อสับหมูไม่ได้เร๊อะ..?   สับกระบาลมึงสิ..!!! (ผู้อ่านชักโมโห)..บอกมาไว ๆ..   คร้าบคร้าบ..แหะ ๆ  บันไดที่เราใช้เท้าบรรจงถีบนั่นน่ะหาเราพิจรณาดูก็จะมีจานเฟือง  อยู่ประมาณ 1-2 หรือไม่ก็ 3 แล้วแต่จักรยานในแต่ละประเภท

 ซึ่งแต่ละจานหรือแต่ละเฟืองนั่นก็มีขนาดลดลั่นกันพอสมควรสังเกตุเห็นชัดอีทีนี้แต่ละจานก็ทำหน้าที่ตามแต่สถาณการณ์ของคนปั่น  จานใบใหญ่สุดใช้รอบขาน้อย ๆ แต่รถยังวิ่งทำความเร็วได้ดีแต่หนักหน่วงถ่วงขาดีแท้   จานใบกลางถัดลงมาใช้รอบขาปั่นเร็วขึ้นมาหน่อยและก็ปั่นเบาสบายขากว่าใบใหญ่อยู่พอสมควร   ใบเล็กสุด ( ส่วนใหญ่  เสือภูเขา  ทัวร์ริ่ง )  ไว้สำหรับปั่นขึ้นเน็นชัน ๆ  ใบเล็กสุดนี่ล่ะที่จะทำหน้าที่ทดแรง   นำพารถรวมทั้งตัวเราด้วยปั่นขึ้นเนินไปได้ด้วยดีก่อนที่จะสำรอกข้าวเหนียวหมูปิ้งออกมาก่อนถึงยอดเขา     ซึ่งในการสับเปลี่ยนใบจานกันไปมานี่ล่ะที่เป็นหน้าที่ของ  อุปกรณ์ชนิดนี้ที่เรียกว่า........สับจาน……เป็นไงศัพธ์แต่ละอย่างของจักรยาน   เอากะเขาสิ..

มือตบ..?   ห๊ะ..!! อะไรกันวะ..?    นี่ชักจะเริ่มเหิมเกริมใช้ความรุนแรงดิบเถื่อนขึ้นเรื่อย ๆ กันเลยนะเนี่ย   อะไรกันนักกันหนาวุ้ย...จะขี่จักยานทั้งทีนอกจาก  ตีน  จะใช้ถีบแล้ว  มือก็ยังจะต้องใช้ตบด้วยเร๊อะ....ว่าแต่  จะตบใคร  อะไร   ที่ไหน เมื่อไหร่ล่ะ..?พูดคุยกันดี ๆ แค่มีคำสั่งให้มารายงานตัวมิได้เร๊อะ...?  ทำไมถึงจะต้องใช้กำลังถีบตบกันด้วยด้วยเล่า   ว่าแต่ตอนจะตบนี่ควรใช้หน้ามือหรือหลังแหวนดีล่ะ..?..แหม่ ๆ ๆ..ทั่นผู้อ่านนี่ก็น่านะ..55

จักรยาน เสือหมอบหรือแม้กระทั้งเสือภูเขาบางรุ่นในยุคสมัยนี้นั้น  ผู้ผลิตชุดเกียร์ชั้นนำทั้งหลายต่างก็ผลิตและออกแบบชุดมือเกียร์และเบรค รวมเอาไว้ด้วยกันเป็นหนึ่งเดียวปรองดองสมาณฉันท์เวลาจะใช้งานจะได้สะดวกแคล่วคล่อง แม่นยำ ฉับไว และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดติ่งทันท่วงทีหรือที่หลาย ๆคนเรียกขานกันหรู ๆ ว่า  ชิฟเตอร์  นั่นเอง   เวลาเราจะปั่นเล่นปั่นออกกำลังกายหรือกระทั่งขณะแข่งขัน  สมาธิของผู้ขับขี่ต้องแน่วแน่เป็นสำคัญ ทุกสัดส่วนของร่างกาย  ต้องจัดระเบียบตามลัษณะท่วงท่า โดยเฉพาะมือคอยสนองตอบรับคำสั่ง  ว่าต้องการเบรค  เปลี่ยนเกียร์ขึ้น / ลง หนัก / เบา ..จะต้องเป็นไปอย่างมั่นคงแต่ทว่านุ่มนวล ลื่นไหลมือไม้ไม่เกะกะปัดป่ายทุกอย่างจะต้องราบรื่นเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดสู่ความเป็นเลิศอย่างที่กล่าว.........เพราะฉนั้น  มือเบรคที่รวมมือเกียร์เอาไว้ในหนึ่งเดียวกันนี้ก็เลยเรียกขานกันตามพฤติกรรมลักษณะการใช้งาน  ว่ามือตบ......เข้าใจตรงกันนะ.....ฮึ้ยยยยยย
ชิปเตอร์ photo E0A0E340E1B0E400E150E2D0E230E4C0_zps457f4a91.jpg
ที่มาของภาพประกอบมือตบขอขอบคุณลิ้งค์นี้ครับ http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=60&t=228422

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น